สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

245 ให้กวีเหล่านั้นรับไปแต่ง ตอนใดที่ทรงพระราชนิพนธ์แล้ว หรือกวีอื่น แต่งแล้วน� ำมาถวาย ก็จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้น� ำมาอ่านในที่ ประชุมกวีหน้าพระที่นั่งเพื่อปรับปรุงแก้ไข หลังจากนั้นพระองค์จะทรง น� ำบทที่ปรับปรุงแล้วพระราชทานแก่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษมนตรีเพื่อ ไปทรงซ้อมกระบวนร� ำ โดยมีครูละครอีก ๒ คนเป็นที่ปรึกษาคือ นาย ทองอยู่และนายรุ่ง บางกรณีอาจกราบบังคมทูลขอให้พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงแก้ไขบทก็มีและเมื่อกระบวนร� ำยุติแล้ว ก็ จะทรงซ้อมให้นายทองอยู่และนายรุ่งไปหัดละครหลวง แล้วแสดงถวาย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทอดพระเนตร เพื่อทรงแก้ไข กระบวนร� ำอีกชั้นหนึ่ง จึงเป็นอันยุติ ความประณีตพิถีพิถันในการทรงพระราชนิพนธ์บทละครในเรื่อง อิเหนาและการน� ำบทไปฝึกซ้อมกระบวนร� ำจนงดงามดังกล่าวนี้ ท� ำให้ พระราชนิพนธ์บทละครเรื่องนี้มีความดีเด่น อ่านก็ไพเราะ ร� ำก็งดงาม จนได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรให้เป็นยอดของบทละครร� ำ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ เนื้อหาของบทประพันธ์ เรื่องอิเหนาเป็นเรื่องราวความรักและการผจญภัยของเจ้าชายแห่ง กรุงกุเรปัน เริ่มเรื่องกล่าวถึงกษัตริย์วงศ์อสัญแดหวา ๔ เมืองซึ่งเป็น พี่น้องกัน คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาเป็นโอรส ของท้าวกุเรปัน ส่วนบุษบาเป็นธิดาของท้าวดาหา ทั้งสองหมั้นหมาย กันตั้งแต่ยังเด็กตามจารีตของวงศ์เทวัญที่จะต้องแต่งงานกันแต่ใน วงศ์เท่านั้น ต่อมาอิเหนาไปหลงรักจินตะหรา เจ้าหญิงแห่งเมืองหมัน- หยา จึงประกาศถอนหมั้นบุษบา ท้าวดาหากริ้วจึงประกาศว่าจะยก บุษบาให้ใครก็ตามที่มาขอ ระตูจรกาผู้มีรูปร่างหน้าตาอัปลักษณ์เป็น คนแรกที่ได้มาสู่ขอบุษบา ท้าวดาหาจึงจ� ำใจยกให้ โดยให้หมั้นหมาย กันไว้ก่อน ต่อมาไม่นานระตูกะหมังกุหนิงก็ส่งทูตมาสู่ขอบุษบาให้แก่ วิหยาสะก� ำผู้เป็นโอรส แต่ท้าวดาหาปฏิเสธเนื่องจากได้ยกบุษบาให้ จรกาไปแล้ว ระตูกะหมังกุหนิงจึงยกทัพมาท� ำศึกชิงบุษบา อิเหนาจ� ำ แม้นแผ่นดินสิ้นชายที่พึงเชย อิเหนา �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 245 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=