สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

240 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง วรรคทองนี้เป็นบทร้องโต้ตอบของชายหญิงว่าด้วยความยาก ล� ำบากของทั้งสองฝ่ายก่อนที่จะลงเอยกันด้วยความสมหวัง ฝ่ายหญิง พรรณนาความล� ำบากที่เกิดมาเป็นหญิง ซึ่งต้องรักนวลสงวนตัวมา ตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่อรักชายใดก็ต้องเก็บซ่อนความรู้สึกไว้ภายใน ไม่กล้า แสดงออก ส่วนฝ่ายชายก็โต้ว่าเป็นผู้ชายนั้นยิ่งยากล� ำบากกว่าหลาย เท่านัก เนื่องจากต้องเป็นฝ่ายเฝ้าวิงวอนขอความรักจากผู้หญิง การที่ ผู้หญิงไม่ยอมเผยความรู้สึกให้ได้รับรู้ก็เพื่อท� ำให้ผู้ชายหลงใหลคลั่งไคล้ และปรารถนาจะได้นางมากยิ่งขึ้น ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกันว่าการกล่าว โทษอีกฝ่ายว่าท� ำให้ชีวิตตนเต็มไปด้วยความยากล� ำบากนั้นช่างดูน่าขัน นัก เพราะแท้ที่จริงทั้งหญิงและชายต่างก็รักกันด้วยความเต็มใจอยู่แล้ว ความดีเด่น บทประพันธ์ตอนที่เป็นวรรคทองนี้เป็นบทร้องประกอบเพลง สามเส้า ซึ่งเป็นเพลงที่มีท่วงท� ำนองสนุกสนานรื่นเริง เหมาะสมกับ สถานการณ์แห่งความยินดีปรีดาเมื่อความรักสมหวัง การพรรณนา ความยากล� ำบากของแต่ละฝ่ายกว่าจะสมหวังในรักมีลักษณะเป็นการ กระเซ้าเย้าแหย่และประคารมกันอย่างสนุกสนานตามประสาคน รัก แต่ในขณะเดียวกันก็แฝงการยั่วล้อค่านิยมเรื่องการรักนวลสงวน ตัวของสตรีไปพร้อม ๆ กันด้วย ดังที่ฝ่ายหญิงอธิบายว่า ความยาก ล� ำบากของหญิงที่จ� ำต้องเก็บซ่อนความรักไว้ในใจมีสาเหตุมาจากค่า นิยมเรื่องความรักนวลสงวนตัวซึ่งได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่ยังเล็ก การรักนวลสงวนตัวนี้หมายรวมถึงการสงวนถ้อยค� ำและอารมณ์ความ รู้สึก ไม่แสดงความรักใคร่เสน่หาต่อชายออกมาให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ การไม่สามารถแสดงอารมณ์และปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ ได้ตามความรู้สึก ตามธรรมชาติ ท� ำให้การเกิดเป็นหญิงนั้น “แสนล� ำบาก” อย่างแท้จริง ทัศนะต่อค่านิยมเรื่องการรักนวลสงวนตัวเช่นนี้คงจะเป็นทัศนะของผู้ หญิงไทยจ� ำนวนไม่น้อยตั้งแต่อดีตมาจนปัจจุบัน ดังพบว่า ข้อความใน วรรคแรกของวรรคทองบทนี้มีผู้นิยมน� ำไปอ้างถึงอยู่เสมอในกรณีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้หญิง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 240 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=