สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

235 ในมิติที่ ๒ เพลงปี่นี้ยังพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกของทหารที่ต้อง พรากจากบ้านเมืองมาท� ำศึกด้วย กวีเปรียบภาวะอ้างว้างว้าเหว่ใจของ ผู้ที่พรากจากเรือนมาว่า “เหมือนนกที่จากรัง” ซึ่งให้ภาพของนกที่ต้อง ซัดเซพเนจรจากรังอันอบอุ่นไปอย่างเดียวดายว้าเหว่ ทั้งยังพรรณนา ต่อไปถึงบรรยากาศในยามดึกว่า “โอ้ยามดึกดาวเคลื่อนเดือนก็คล้อย น�้ ำค้างย้อยเย็นฉ�่ ำที่อัมพร” แสงอันสลัวรางของดวงจันทร์นี้ยิ่งกระตุ้น ให้เกิดความรู้สึกหมองหม่น และอากาศอันหนาวเย็นก็ยิ่งท� ำให้เกิด ความ “หนาวอารมณ์” เมื่อประกอบเข้ากับ “ลมเรื่อยเฉื่อยเฉื่อยชื่น” ที่พัด “กลิ่นเกสร” โชยมาอ่อน ๆ ก็ยิ่งเตือนให้ผู้ที่พรากจากบ้านมา นึกถึง “เพื่อนที่นอน” อันสื่อถึงหญิงคนรักที่รอคอยอยู่ที่บ้าน ชวน ให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกว้าเหว่อ้างว้างวังเวงอย่างรุนแรง และสงสาร เห็นใจคนรักที่รอคอยอยู่อย่างจับใจ มิติอารมณ์ทั้ง ๒ มิติที่สื่อผ่านจินตภาพดังกล่าว ได้ช่วยเสริมเน้นให้ ผู้ฟังเพลงปี่เกิดความรู้สึกว้าเหว่วังเวงและอาลัยอาวรณ์ถึงความสุขใน หนหลังและความทุกข์ในปัจจุบันได้อย่างสะเทือนอารมณ์ยิ่ง วรรคทองบทนี้ยังดีเด่นในด้านการใช้ค� ำที่มีความหมายสื่อถึงความ โศกเศร้าอาลัยอาวรณ์ เช่น “โหยหวน” “ครวญ” “วังเวงจิต” “ถวิลหวัง” “ร�่ ำพิไร”“รัญจวน” “หวนละห้อย” ซึ่งช่วยเน้นอารมณ์ความรู้สึกที่เกิด จากจินตภาพข้างต้นให้เข้มข้นรุนแรงมากยิ่งขึ้น การเล่นเสียงสัมผัส เช่น “ยามค�่ ำ-ย�่ ำฆ้อง-ร้องไห้” “ดาวเคลื่อน-เดือนก็คล้อย” ก็ช่วย เสริมให้น�้ ำเสียงอันเศร้าสร้อยของวรรคทองบทนี้มีความไพเราะรื่นหู ชวนซาบซึ้งใจอย่างยิ่ง ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงธรรมชาติของจิตใจมนุษย์ที่รักผูกพันกับ ถิ่นฐานบ้านเกิดและครอบครัว และการถ่ายทอดออกมาได้อย่างมี วรรณศิลป์ท� ำให้เพลงปี่นี้ไม่เพียงสามารถสะกดใจเหล่าทหารในกองทัพ ฝ่ายลังกาได้เท่านั้น ผู้อ่านเองก็สามารถเชื่อมโยงความรู้สึกอันลึกซึ้ง เข้ากับประสบการณ์ของตนได้ วรรคทองบทนี้จึงประทับตราตรึงอยู่ ในจิตใจของคนทั่วไปตราบเท่าถึงทุกวันนี้ พระโหยหวนครวญเพลงวังเวงจิต พระอภัยมณี �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 235 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=