สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
16 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้มุ่งให้คติว่า ความรู้มีจ� ำนวนมากมายมหาศาลและไม่มี ขอบเขต เปรียบเหมือนน�้ ำในทะเลหรือมหาสมุทร บุคคลจึงไม่ควร ส� ำคัญตนว่ามีความรู้ ฉลาด และมีสติปัญญารอบรู้ทุกสิ่ง คนที่มีความ รู้น้อยและหลงคิดว่าตนรู้มาก เปรียบเหมือนกบที่อยู่แต่ในสระ ไม่เคย เห็นทะเลกว้างใหญ่ จึงหลงคิดว่าน�้ ำในสระของตนนั้นมีมากเหลือล้น ความดีเด่น โคลงบทนี้ดีเด่นในด้านการเปรียบเทียบเพื่อให้ผู้อ่านเห็นลักษณะ ของคนที่มีความรู้น้อย ด้อยประสบการณ์ และมีโลกทัศน์คับแคบ กวี เปรียบคนเช่นนี้กับกบซึ่งมีธรรมชาติต้องอยู่ในบริเวณที่มีแหล่งน�้ ำ คน สมัยก่อนจึงอาจมองว่ากบเป็นสัตว์ที่ไม่ค่อยได้เห็นความเป็นไปของ โลก ดังปรากฏในสุภาษิตไทยว่า กบในกะลา หรือกบในกะลาครอบ ซึ่ง หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อยแต่ส� ำคัญตนว่ามีความรู้มาก นอกจากนั้นกวียังเปรียบเทียบน�้ ำกับความรู้ในฐานะที่เป็นสิ่งจ� ำเป็นต่อ การด� ำรงชีวิต น�้ ำจ� ำเป็นต่อการด� ำรงชีวิตของกบฉันใด ความรู้ก็จ� ำเป็น ต่อการด� ำเนินชีวิตของมนุษย์ฉันนั้น ความดีเด่นประการต่อมาคือ การให้ภาพเปรียบต่างระหว่างสระ ที่กบอยู่อาศัยกับมหาสมุทร กวีใช้ค� ำบรรยายสระว่า “สระจ้อย” และ “บ่อน้อย” ซึ่งให้ภาพของสระที่มีขนาดเล็ก ขณะที่บรรยายมหาสมุทร ว่า “ชเลไกล” ซึ่งให้ภาพของมหาสมุทรที่กว้างใหญ่ไพศาล สระที่เล็ก ตื้น และไร้ความส� ำคัญเปรียบได้กับความรู้ที่น้อยนิด หรือโลกทัศน์ที่ คับแคบ ส่วนมหาสมุทรเปรียบได้กับความรู้ หรือโลกทัศน์ที่กว้างและ ล�้ ำลึก ความแตกต่างกันอย่างชัดเจนนี้เน้นให้เห็นความเขลาของคนที่ มีความรู้น้อย เห็นโลกมาน้อย แต่กลับทะนงตนว่ามีความรู้กว้างไกล ลึกซึ้งได้อย่างชัดเจน อนึ่ง โคลงบทนี้ยังชี้ให้เห็นว่า มนุษย์แต่ละคนมีขอบเขตความรู้ที่ จ� ำกัดตามสภาพแวดล้อม ในขณะที่ยังมีความรู้ต่าง ๆ ในโลกอันกว้าง ใหญ่ไพศาลที่มนุษย์ยังไม่ได้ค้นพบ เช่นเดียวกับกบที่อาศัยอยู่ในสระ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 16 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=