สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

222 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง บทละครพูดค� ำกลอนเรื่องพระร่วง ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี/สมัยที่แต่ง พ.ศ. ๒๔๖๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี พระร่วงเป็นบทละครพูดค� ำกลอน คือแต่งด้วยกลอนสุภาพเป็น ส่วนใหญ่ มีบทเจรจาบางตอนแต่งเป็นร้อยแก้วที่มีสัมผัสส่งรับกัน คล้ายร่ายแทรกอยู่บ้าง รูปแบบค� ำประพันธ์ กลอนสุภาพ วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บท ละครพูดค� ำกลอนเรื่องพระร่วงโดยทรงปรับปรุงจากพระราชนิพนธ์ กลอนบทละครเรื่องขอมด� ำดินส� ำนวนที่ใช้ส� ำหรับเล่นละครร� ำ เพื่อ พระราชทานให้สมาชิกเสือป่ารักษาดินแดนน� ำไปแสดงได้ง่ายขึ้น ดังที่ ปรากฏในพระบรมราชาธิบายในฉบับพิมพ์ครั้งแรกว่า “สมาชิกเสือป่า รักษาดินแดนได้แสดงปรารถนาจักใคร่เล่นเรื่อง ‘พระร่วง’ ซึ่งเห็นว่า เป็นเรื่องปลุกใจคนไทยเราอย่างดีเรื่อง ๑ แต่บทกลอนที่ข้าพเจ้าได้แต่ง ไว้ก่อนนี้ เป็นบทส� ำหรับเล่นละครร� ำอย่างแบบเก่า จึ่งยากที่สมาชิก เสือป่าจะเล่นได้ เพราะเกี่ยวแก่การต้องใช้บทร� ำอย่างท่าละคร ซึ่งเป็น ของยากแก่ผู้ที่มิได้เคยฝึกหัด ด้วยเหตุฉะนี้ ข้าพเจ้าจึ่งได้คิดแต่งขึ้น ใหม่เป็นแบบละครพูดค� ำกลอน เพื่อให้สะดวกแก่ผู้ที่ไม่ได้เคยฝึกหัด ร� ำละครแบบเก่าเล่นได้” เรื่องพระร่วงเป็นพระราชนิพนธ์ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงปรับปรุงดัดแปลงใหม่หลายครั้งในต่างวาระ เรื่องพระร่วง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 222 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=