สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
210 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง วัวควายเมื่อตายไปแล้วยังเหลือร่างกายส่วนต่าง ๆ ให้ผู้อื่นใช้ ประโยชน์ได้ เช่น เขากับหนัง แต่มนุษย์เมื่อสิ้นชีวิตแล้วร่างกายก็ดับ สูญไป คงเหลือเพียงความดีหรือความชั่วที่จะปรากฏสืบไป ความดีเด่น โคลงบทนี้ดีเด่นในด้านกลวิธีการน� ำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับคุณค่า ของชีวิตมนุษย์ โดยการน� ำสัตว์มาเปรียบเทียบกับมนุษย์ เพื่อแสดงให้ เห็นว่าหากบุคคลไม่รู้จักสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้อื่น หรือสังคมโดยรวม ชีวิตของผู้นั้นก็จะไร้ค่าและสู้ชีวิตสัตว์ไม่ได้ โดยธรรมชาติแล้ว สัตว์ย่อมมีสติปัญญาด้อยกว่ามนุษย์ จึงไม่ สามารถรู้คิดที่จะสร้างสรรค์ประโยชน์ยิ่งใหญ่ได้ แต่สัตว์เหล่านี้ก็ยัง มีประโยชน์ต่อมนุษย์ในหลาย ๆ ด้าน กวีหยิบยกวัวควายมาเปรียบ เทียบ เพราะวัวควายเป็นสัตว์ที่สามารถใช้เป็นแรงงานและอาหารของ มนุษย์ได้ แม้เมื่อสัตว์เหล่านี้ตายไปแล้ว ก็ยังเหลือเขาและหนังให้ได้ใช้ ประโยชน์ต่อไปได้อีกส่วนมนุษย์เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีปัญญาเหนือกว่าสัตว์ หากไม่รู้จักใช้สติปัญญาในทางสร้างสรรค์ก็จะไม่ก่อประโยชน์ใด ๆ เลย ทั้งยังอาจก่อให้เกิดโทษอีกด้วย ดังนั้น มนุษย์จึงควรรู้จักใช้ก� ำลังกาย และก� ำลังปัญญาของตนสั่งสมคุณความดีและสร้างสรรค์ประโยชน์ให้ แก่โลก เพราะสิ่งนี้เท่านั้นที่จะคงอยู่ต่อไปเมื่อมนุษย์จากโลกนี้ไปแล้ว �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 210 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=