สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
204 กวีวัจน์วรรณนา ชิดใกล้ เพราะคนรักจะให้ความอบอุ่นราวกับห่มกายด้วยผ้าทิพย์ถึง ๑๐ ผืน กลิ่นหอมของดอกไม้ทั้งหลายล้วนแต่ไม่นานก็จางหาย มิอาจสร้าง ความชื่นบานใจเทียบเท่ากับรสแห่งถ้อยค� ำของคนรักได้ ความดีเด่น วรรคทองที่ยกมานี้ดีเด่นในด้านการพรรณนาความรู้สึก อ้างว้างเปล่าเปลี่ยวของผู้ที่ไร้คู่และความอบอุ่นชื่นบานของการมีคน รักได้อย่างไพเราะคมคาย กวีเริ่มต้นด้วยการกล่าวถึงความหนาวทาง กายว่าเป็นความหนาวแต่เพียงภายนอกที่สามารถหาสิ่งมาบรรเทาหรือ แก้ไขได้ไม่ยากนัก ดังเช่นความหนาวเย็นจากน�้ ำค้างที่อาจประทังด้วย เสื้อผ้าและผ้าห่มหรือความหนาวเย็นจากลมว่าวที่อาจประทังด้วยการ ผิงไฟ การยกความเปรียบที่เทียบเคียงกับความหนาวจาก “น�้ ำค้าง” และ “ลมว่าว” ยังมีนัยว่า ความหนาวกายเหล่านี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเพียง ชั่วครั้งชั่วคราว เช่นความหนาวเย็นจากน�้ ำค้างที่เกิดขึ้นเฉพาะในยาม ค�่ ำคืน หรือความหนาวเย็นจากลมว่าวที่เกิดขึ้นเพียงช่วงต้นฤดูหนาว แต่ความ “หนาวใจ” นั้นเป็นความหนาวเปล่าเปลี่ยวที่ผู้ไร้คู่จ� ำต้อง ทนกล�้ ำกลืนทุกวันทุกคืน การใช้ค� ำว่า “หนาวใจจ� ำกลั้นทุกวันคืน” จึง เป็นการใช้ค� ำที่สั้นกระชับแต่ให้ภาพและอารมณ์ที่ชัดเจนของผู้ที่ขาด คนรัก ดังนั้น ทางเดียวที่จะแก้อาการ “หนาวใจ” ได้ คือมีคนรักไว้ชิด ใกล้ค� ำว่า “ชูชิดสนิทนุ่ม” เป็นค� ำที่ให้ความรู้สึกชัดเจนว่า การที่ได้แนบ ชิดกับคนรักนั้นเป็นความนุ่มอุ่นที่พิเศษยิ่งกว่าการบรรเทาความหนาว ด้วยวิธีอื่น การมีคนรักจึงให้ความอบอุ่นเสมือนกับได้ “ห่อหุ้มผ้าทิพย์ สักสิบผืน” การใช้ความเปรียบกับ “ผ้าทิพย์” แสดงให้เห็นว่าการได้ใกล้ ชิดกับคนรักมิได้ให้เพียงความอบอุ่นเช่นเดียวกับการห่มผ้าอื่น ๆ หาก แต่เป็นความรู้สึกอบอุ่นที่พิเศษยิ่งราวกับได้สัมผัสสิ่งอันเป็น “ทิพย์” เมื่อใช้ค� ำว่า “ผ้าทิพย์สักสิบผืน” จึงยิ่งแสดงความพิเศษของความ สุขที่เกิดจากการได้ใกล้ชิดกับคนรักให้มากยิ่งขึ้นจนมิอาจพรรณนา ได้ นอกจากนี้ การกล่าวถึงความหอมของดอกไม้ที่มิอาจเทียบเท่ารส แห่งถ้อยค� ำของคนรักได้นั้น ยังเป็นการช่วยเสริมนัยของความอบอุ่น จากคนรักอีกประการหนึ่งด้วยว่า นอกจากความอบอุ่นทางกายแล้ว �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 204 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=