สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
197 และบาทสุดท้าย “จ� ำทุกข์จ� ำเทวศว้าง สวาดิว้าหวั่นถวิล” ก็มีการ เล่นสัมผัสพยัญชนะเกือบตลอดทั้งบาท ได้แก่ค� ำว่า “ทุกข์-เทวศ” และ “ว้าง-(ส)วาสดิ-ว้า-หวั่น-(ถ)วิล” ความไพเราะทางด้านเสียงสัมผัสของโคลงทั้งบทนี้สอดประสาน กลมกลืนกับการสื่อความหมายและการสร้างอารมณ์สะเทือนใจอย่าง มีเอกภาพและมีวรรณศิลป์ดีเยี่ยม เนื่องจากวรรคทองบทนี้เป็นบท ลาของพระมหาอุปราชาผู้จ� ำใจจากพระสนมที่รักไปท� ำศึกที่ตนเอง หวาดหวั่น ความรู้สึกของพระองค์จึงเต็มไปด้วยความทุกข์ระทมใจ และความห่วงหาอาลัยนางผู้เป็นที่รัก ด้วยเกรงว่าอาจเป็นครั้งสุดท้าย ที่พระองค์จะได้อยู่ร่วมกับนาง การซ�้ ำค� ำว่า “จ� ำ” ถึง ๖ ครั้ง ได้แก่ “จ� ำ ใจ” “จ� ำจาก” “จ� ำจร”“จ� ำนิราศ” “จ� ำทุกข์” และ “จ� ำเทวศ” ช่วยเน้น ความรู้สึกของพระมหาอุปราชาอย่างชัดเจนว่าการเดินทางในครั้งนี้เป็น สิ่งที่ฝืนพระทัยของพระองค์เป็นอย่างยิ่ง เมื่อประกอบกับการหลากค� ำ ในความหมายว่า “จาก” อีก ๕ ค� ำ ได้แก่ “จาก” “จร” “นิราศ” “แรม” และ “ร้าง” การซ�้ ำค� ำและการหลากค� ำทั้ง ๒ ชุดนี้จึงมีความเชื่อมโยงที่ มิได้ก่อให้เกิดความไพเราะทางด้านเสียงสัมผัสเท่านั้น แต่ยังแสดงให้ เห็นสภาวะความบีบคั้นในจิตใจของพระองค์ที่เกิดจากความขัดแย้ง ระหว่างความปรารถนาส่วนตัวและหน้าที่ที่มีต่อบ้านเมือง เนื่องจาก การเดินทางในครั้งนี้เป็นการท� ำศึกที่พระองค์เกรงว่าจะไม่มีชีวิตรอด กลับมา การร�่ ำลาในครั้งนี้จึงเป็นการลาจากที่พระองค์ตระหนักดีว่า อาจเป็นการลาครั้งสุดท้าย การแจกแจงค� ำที่เกี่ยวเนื่องกับความรู้สึกใน บาทสุดท้าย อันได้แก่ “ทุกข์” “เทวษ” “ว้าง” “ว้า” “หวั่น” และ “ถวิล” จึงช่วยเน้นย�้ ำสภาพจิตใจของพระมหาอุปราชาที่มีทั้งความทุกข์ระทม ใจ ความอ้างว้างว้าเหว่ ความหวั่นวิตก และความถวิลหาผู้เป็นที่รักให้ ชัดเจนยิ่งขึ้น บทลาที่เปี่ยมไปด้วยความทุกข์ระทมของพระมหาอุปราชาบทนี้จึง เป็นโคลงอันไพเราะที่สร้างความสะเทือนอารมณ์ผู้อ่านได้ดียิ่ง และ ท� ำให้โคลงบทนี้เป็นวรรคทองที่ตราตรึงอยู่ในใจผู้อ่านมาแสนนาน จ� ำใจจ� ำจากเจ้า จ� ำจร ลิลิตตะเลงพ่าย �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 197 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=