สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
196 กวีวัจน์วรรณนา พระนเรศวรจึงได้พระราชทานอภัยโทษให้ตามที่กราบทูลขอ และมี พระบรมราชโองการให้แม่ทัพนายกองเหล่านั้นแก้ตัวโดยการยกทัพ ไปตีเมืองทวาย มะริด และตะนาวศรี หลังจากนั้นเนื้อความกล่าวถึง เหตุการณ์ที่เมืองเชียงใหม่ส่งสารมาขอเป็นไมตรีกับฝ่ายไทย และจบ ด้วยการสรรเสริญพระเกียรติของพระนเรศวรที่ทรงเป็นกษัตริย์ที่เพียบ พร้อมด้วยทศพิธราชธรรมท� ำให้กรุงศรีอยุธยามีความเจริญรุ่งเรืองและ ประชาชนอยู่กันอย่างเป็นสุข วรรคทองบทที่ยกมาข้างต้นนี้ เป็นเหตุการณ์ตอนพระมหา อุปราชาทรงร�่ ำลาพระสนมก่อนเสด็จยกทัพไปรบ อันเป็นเนื้อหาที่กวี ทรงจินตนาการแทรกเข้ามาเพื่อแสดงให้เห็นความทุกข์ของพระมหา อุปราชาที่ต้องจากนางอันเป็นที่รักไปท� ำศึกที่ตนตระหนักดีว่าแทบจะ ไม่มีโอกาสได้รับชัยชนะ ความหมายของวรรคทอง พระมหาอุปราชาตรัสกับพระสนมผู้เป็นที่รักว่า พระองค์มิได้ทรง ปรารถนาที่จะเดินทาง แต่จ� ำพระทัยที่จะต้องจากนางทั้งหลายเพราะ ต้องไปท� ำศึกเพื่อแผ่นดิน การจากกันในครั้งนี้ท� ำให้พระองค์เกิดความ ทุกข์ความเศร้าโศกเป็นอย่างยิ่ง เพราะพระองค์จะต้องเดินทางด้วย ความอ้างว้างและหวาดหวั่นพระทัย จึงท� ำให้พระองค์ยิ่งทวีความคิดถึง ที่มีต่อนางทั้งหลายมากขึ้น ความดีเด่น วรรคทองนี้มีความดีเด่นด้านการสรรค� ำที่ให้เสียงสัมผัสอันไพเราะ และความหมายที่ลึกซึ้งสะเทือนอารมณ์ มีการเล่นสัมผัสพยัญชนะ อย่างแพรวพราวทุกบาท โดยเฉพาะในบาทแรกว่า “จ� ำใจจ� ำจากเจ้า จ� ำ จร” ที่เป็นการเล่นเสียง /จ/ ทุกค� ำ ส่วนในบาทที่ ๒ “จ� ำนิราศแรมสมร แม่ร้าง” มีการเล่นสัมผัสพยัญชนะอีก ๒ เสียง ได้แก่ เสียง /ร/ และ /ม/ ในค� ำว่า “ราศ-แรม-ร้าง” และค� ำว่า “สมร-แม่”สัมผัสพยัญชนะ เสียง /ร/ ในบาทที่๒นี้ยังต่อเนื่องไปถึงบาทที่๓ ในค� ำว่า “รอน-อริราช” �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 196 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=