สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
190 กวีวัจน์วรรณนา นอกเหนือจากการ “เลียนโวหารครู” แล้ว โคลง ๒ บทนี้ดีเด่น ด้านการผสานบทชมนาง บทฝากนาง และบทฝากรักไว้ด้วยกันอย่าง กลมกลืน มีวรรณศิลป์ทั้งในด้านเสียงของค� ำ ด้านความงดงามทาง จินตภาพและด้านการสร้างความหมายที่อ่อนหวานซาบซึ้งใจ การชม ความงามของนางอันเป็นที่รักของกวีมีทั้งการชมโดยตรง เช่น กล่าว ชมนางว่าเป็นผู้มีรูปโฉมงามล�้ ำเลิศเป็นที่ชื่นบานแก่โลกในบาทแรก ว่า “โอ้ศรีเสาวลักษณ์ล�้ ำ แลโลม โลกเอย” และชมโดยอ้อมผ่านการ พรรณนาความห่วงใยของกวี การที่กวีแสดงความปรารถนาให้มีกิ่งฟ้า ยื่นลงมาเพื่อตนจะได้แขวนนางซ่อนไว้ในท้องฟ้า และการครุ่นคิดค� ำนึง ว่าจะฝากนางไว้ที่ใด นอกจากจะเป็นบทฝากนางที่แสดงความรักความ ห่วงใยนางอันเป็นที่รักแล้ว ยังเป็นบทชมความงามของนางที่สอดรับกับ เนื้อความในบาทแรกด้วย เพราะหากนางมิได้เป็นผู้ที่มีความงามล�้ ำเลิศ กวีคงมิต้องวุ่นวายใจมากถึงเพียงนี้ในการหาสถานที่ที่เหมาะสมควรค่า แก่การฝากนาง นอกจากนี้ การที่กวีไม่อาจตัดสินใจได้ว่าจะฝากนางไว้ บนฟ้าหรือบนดิน เพราะเกรงว่าเทพยดาและผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจะ ลอบใกล้ชิดนาง หรือการที่กวีไม่แน่ใจว่าจะฝากนางไว้กับลมเพราะลม หรือพระพายอาจจะท� ำให้ผิวนางช�้ ำ ยังช่วยเสริมให้เห็นความงามของ นางและความหวงแหนทะนุถนอมนางของกวี หากนางมิได้งดงามยิ่ง กวีก็คงจะไม่เกรงว่า ผู้เป็นใหญ่ในสวรรค์ ในแผ่นดิน และในอากาศจะ ลุ่มหลงและปรารถนาในตัวนาง ค� ำว่า “ลม” ในบาทสุดท้ายสื่อความ หมายได้ทั้งสายลมและพระพาย จึงช่วยย�้ ำให้เห็นความหวงแหนของ กวีและความปรารถนาที่จะทะนุถนอมนางว่า แม้แต่สายลม กวีก็ยัง มิต้องการให้สัมผัสผิวอันผุดผ่องบอบบางของนางให้บอบช�้ ำ โคลง ๒ บทนี้จึงเป็นบทฝากนางที่แฝงการชมนางอย่างแยบคาย แม้กวีมิได้พรรณนาความงามของนางโดยละเอียด แต่ผู้อ่านก็สามารถ เข้าใจได้ดีว่า ในความคิดค� ำนึงของกวี นางเป็นผู้ที่มีความงามล�้ ำเลิศ ยิ่ง การแสดงความยกย่องชื่นชมในความงามของนาง และการแสดง �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 190 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=