สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
189 กล่าวถึงสถานที่ต่าง ๆ ตามเส้นทางการเดินทางไม่ว่ากวีจะเดินทางไป ถึงสถานที่ใด นางก็ยังอยู่ในความคิดค� ำนึงของกวีอยู่เสมอ ยิ่งไปกว่า นั้น ธรรมชาติรอบตัวไม่ว่าจะเป็นพรรณพืชหรือสรรพสัตว์ก็ล้วนแต่ย�้ ำ เตือนให้กวีระลึกถึงนาง ท� ำให้กวีโศกเศร้ามากยิ่งขึ้นอีก ในตอนท้าย กวีได้กล่าวเน้นถึงความรักอันยิ่งใหญ่ที่ตนมีให้นางอันเป็นที่รักและ ย�้ ำเตือนให้นางรักษาบทประพันธ์นี้ไว้แทนตัวกวี ในบทจบ กวีระบุชื่อ ตนเองและกล่าวแสดงความภาคภูมิใจในผลงานการประพันธ์ของตน ความหมายของวรรคทอง โคลง ๒บทนี้แสดงให้เห็นความรักความห่วงใยที่กวีมีต่อนางอันเป็น ที่รักในยามที่ต้องพลัดพรากจากไป ในโคลงบทแรก กวีกล่าวชมนางว่า มีรูปโฉมงามล�้ ำเลิศเป็นที่ชื่นบานแก่โลก ถ้าหากมีกิ่งฟ้ายื่นลงมาสู่โลก กวีก็ใคร่จะน� ำนางไปแขวนซ่อนไว้ในท้องฟ้าด้วยเกรงว่าจะมีผู้อื่นหมาย ปองนาง แต่เพราะไม่มีกิ่งฟ้า กวีจึงไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้ที่ใด ในโคลงบทที่ ๒ กวีครุ่นค� ำนึงว่าจะฝากนางผู้งดงามนี้ไว้กับฟ้าหรือ ดิน เพราะเกรงว่าทั้งเทพยดาบนฟากฟ้าและผู้เป็นใหญ่ในแผ่นดินจะ ลอบมาใกล้ชิดนาง หากกวีจะฝากนางไว้กับลมให้ช่วยพานางไปอยู่ บนท้องฟ้า ก็เกรงว่าพระพายจะพัดให้ผิวนางที่กวีหวงแหนต้องชอกช�้ ำ ความดีเด่น โคลง ๒ บทนี้ประพันธ์โดยการ “เลียนโวหารครู” จากวรรณคดีเรื่อง ก� ำสรวลโคลงดั้น ซึ่งเป็นวรรณคดีสมัยอยุธยาและเป็นแบบอย่างของ โคลงนิราศ วรรคทองที่ยกมานี้เลียนแบบโวหารการฝากนางในก� ำสรวล โคลงดั้น ที่พรรณนาว่า โฉมแม่จักฝากฟ้า เกรงอินทร์ หยอกนา อินทร์ท่านเทอกโฉมเอา สู่ฟ้า โฉมแม่จักฝากดิน ดินท่าน แล้วแฮ ดินฤๅขัดเจ้าหล้า สู่สมสองสม โอ้ศรีเสาวลักษณ์ล�้ ำ แลโลม โลกเอย นิราศนรินทร์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 189 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=