สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
179 กวีใช้ค� ำว่า “บันดาล” เพื่อสื่อให้เห็นฤทธิ์อันแรงกล้าของพิษรัก ซึ่ง นอกจากท� ำให้บุคคลนั้นท� ำได้ทุกอย่างตามอารมณ์และความปรารถนา แล้ว ยังสามารถท� ำลายวิจารณญาณในการมองสิ่งต่าง ๆ อย่างมีเหตุมี ผล หนุ่มสาวที่ก� ำลังเป็น “โรครัก” จึง “ไม่ยินและไม่ยล อุปะสัคคะใด ใด” คือทั้งไม่ปรารถนาจะรับรู้และมองไม่เห็นปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นจากความรัก ไม่ต่างกับคนตาบอดที่มองไม่เห็นภยันตราย ที่จะเกิดขึ้น การน� ำความรักซึ่งเป็นอารมณ์ความรู้สึกอันเป็นนามธรรม ไปเปรียบกับโรคภัยไข้เจ็บซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ทุกคนเคยประสบ ช่วยให้ ผู้อ่านที่แม้ไม่เคยมีความรัก ก็เข้าใจโทษของความรักได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง นอกจากนั้น การเปรียบธรรมชาติอันรุนแรงไร้เหตุผลของอารมณ์ รักกับวัวหนุ่มเปลี่ยวคะนองก็เป็นการใช้ภาพพจน์แบบอุปมาที่แยบคาย และให้ภาพชัดเจนกวีใช้ค� ำว่า “ถึก”“โลด” และ “ดึง” เพื่อสื่อพละก� ำลัง อันเปี่ยมล้นและแรงกล้าของวัยหนุ่มสาว ใช้ค� ำว่า “คึก” เพื่อสื่อความ รู้สึกฮึกเหิมล� ำพองใจของผู้ที่ก� ำลังมีความสุขในความรัก และใช้ค� ำว่า “คลั่ง” เพื่อสื่อถึงการแสดงอาการอันรุนแรงและผิดปรกติจากการขาด สติสัมปชัญญะอันเนื่องเพราะตกอยู่ในอิทธิพลของความรักใคร่ ใหลหลง ดังนั้น เมื่อพลังอันรุนแรงเหล่านี้ถูก “ขัง”“ผูก” และ “ห้าม” จึง เกิดการดึงดันต่อสู้อย่างไม่หวั่นเกรงว่าจะ “เจ็บกาย” ภาพทั้ง ๒ ภาพนี้ ให้ข้อคิดแก่ผู้อ่านว่า การพยายามฉุดรั้งหน่วงเหนี่ยวความรักอันรุนแรง ของคนหนุ่มสาว นอกจากจะไม่เกิดผลดีแต่อย่างใดแล้ว ยังอาจน� ำผล ร้ายมาสู่ผู้ถูกห้ามและผู้ห้ามอีกด้วย วรรคทองบทนี้เป็นการมองความรักอย่างเข้าใจธรรมชาติของจิต มนุษย์ และน� ำเสนอออกมาเป็นภาพอันแจ่มชัดผ่านวรรณศิลป์ที่ทรง พลัง เพื่อให้คติเตือนใจแก่ผู้ที่ตกอยู่ในห้วงรักและผู้คนรอบข้าง ด้วย เหตุนี้เองจึงท� ำให้วรรคทองบทนี้เป็นที่จับใจผู้อ่านมายาวนานจวบ จนถึงปัจจุบัน ความรักเหมือนโรคา มัทนะพาธา �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 179 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=