สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
178 กวีวัจน์วรรณนา ศุภางค์ออกไปรบและเสียชีวิตในสนามรบ ส่วนมัทนากลับไปที่อาศรม ฤษีกาละทรรศินแล้วทูลขอให้สุเทษณ์รับตนกลับสวรรค์ สุเทษณ์ขอให้ นางรับรักพระองค์ก่อนนางก็ยังปฏิเสธท� ำให้สุเทษณ์โกรธมากและสาป ให้นางกลายเป็นดอกกุหลาบไปตลอดกาล เมื่อพระชัยเสนรู้ความจริงก็ ออกตามหามัทนาแต่ไม่ทันการณ์ นางได้กลายเป็นดอกกุหลาบไปเสีย แล้ว พระชัยเสนจึงน� ำต้นกุหลาบกลับไปยังเมืองหัสตินาปุระ วรรคทองบทนี้อยู่ในตอนฤษีกาละทรรศินสนทนากับศุภางค์หลัง จากที่พระชัยเสนกับมัทนาเปิดเผยความในใจต่อกันและชวนกันไป สาบานรัก พระฤษีทราบดีว่าความรักของทั้งสองจะน� ำมาซึ่งความเจ็บ ปวดทุกข์ทรมานแสนสาหัสในภายหน้า แต่ก็ไม่เห็นประโยชน์ที่จะขัด ขวางด้วยเข้าใจในธรรมชาติของความรัก ความหมายของวรรคทอง วรรคทองบทนี้เป็นค� ำพูดของฤษีกาละทรรศินซึ่งอธิบายเหตุผล ให้ศุภางค์ฟังว่า เพราะเหตุใดพระฤษีจึงเห็นว่าการห้ามปรามความรัก ระหว่างพระชัยเสนกับมัทนาเป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ ฤษีกาละทรรศิน กล่าวว่า ความรักเป็นเหมือนโรคร้ายที่มีฤทธิ์ท� ำให้บุคคลที่ก� ำลังรัก เกิดความหลงใหลมัวเมาเหมือนคนตาบอด มองไม่เห็นและไม่รับรู้ อุปสรรคความเดือดร้อนที่จะเกิดจากความรัก ความรักเป็นเหมือน โคหนุ่มคะนองที่ก� ำลังฮึกห้าว หากขังไว้ก็ไม่ยินยอมอยู่ในคอก รังแต่จะ กระโดดออกจากคอกไป แม้จะผูกเอาไว้ โคนั้นก็จะพยายามใช้ก� ำลัง ดึงเชือกที่ผูกไว้ให้หลุดออกจนได้และยิ่งห้ามปรามเท่าใดก็จะยิ่งท� ำให้ เสียสติใช้ก� ำลังอาละวาดโดยไม่ค� ำนึงว่าจะท� ำให้ตนเองบาดเจ็บ ความดีเด่น วรรคทองนี้ให้ข้อคิดเตือนใจเกี่ยวกับโทษของความรักผ่านกลวิธี ทางวรรณศิลป์ที่ส� ำคัญ ๒ ประการคือ การใช้ภาพพจน์เปรียบเทียบที่ คมคาย และการสรรค� ำอย่างประณีตบรรจงเพื่อสื่อความหมายอันลึก ซึ้ง กวีเปรียบเทียบความรักอันเร่าร้อนของคนหนุ่มสาวว่าเป็นเสมือน โรคร้ายซึ่งมีพิษอันแรงกล้าคือความลุ่มหลงมัวเมาในบุคคลที่ตนรัก �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 178 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=