สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
172 กวีวัจน์วรรณนา ของ “กระทู้” มาสู่การแต่งวรรณคดีเช่นนี้ เป็นการสรรค์สร้าง “กิจกรรม ทางปัญญา” อันท� ำให้เกิดวรรณคดีค� ำสอนแนวใหม่ที่ให้ความส� ำคัญแก่ ทรรศนะของปัจเจกบุคคลอย่างเด่นชัด พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเข้าพระทัยการแต่ง ค� ำประพันธ์ตาม “กระทู้” เป็นอย่างดี ดังจะเห็นได้ว่า เมื่อพระองค์ พระราชทาน “กระทู้” แก่เจ้านายที่ตามเสด็จเพื่อให้แต่งแล้ว ยังได้ พระราชทาน “กระทู้โคลง” ซึ่งเป็นศัพท์ทางฉันทลักษณ์ หมายถึง ค� ำ หลักที่ตั้งไว้หน้าโคลงแต่ละบาทเพื่อให้กวีแต่งต่อจากค� ำหลักนั้น กลวิธี การแต่งเช่นนี้ปรากฏมาช้านานในขนบวรรณคดีไทย พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวน่าจะทรงเล็งเห็นว่า การแต่ง “โคลงกระทู้” ก็คือวิธีการตั้งประเด็นในการแต่งโคลงของกวีโบราณ จึงทรงน� ำกลวิธี ดังกล่าวมาใช้ทั้ง ๒ ลักษณะคือ ทั้งการตั้งประเด็นและการก� ำหนดค� ำ หน้าบาท ในด้านความงามทางวรรณศิลป์ โคลงพระราชนิพนธ์บทนี้มีความดี เด่นตรงที่ใช้ค� ำง่าย แต่สื่อความหมายได้หลายนัย และถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกได้อย่างลึกซึ้ง เช่น “ชื่นจิต” “ค� ำซื่อ” และ “รักแรง” ความแปลกใหม่ทั้งในด้านแนวคิดที่น� ำเสนอและกลวิธีการแต่ง ท� ำให้โคลงบทนี้เป็นวรรคทองที่ตราตรึงใจผู้อ่านมาโดยตลอด �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 172 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=