สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

171 ตาม เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจสาระค� ำสอนได้อย่างชัดเจน ส่วนในโคลงพระ- ราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้น�้ ำเสียงที่ อ่อนหวานมีลีลาคล้ายบทชมความงามของนางในวรรณคดีไทยที่เรียก ว่า “บทเสาวรจนี”แต่ความงามในที่นี้ พระองค์มิได้เน้นความงามของ รูปลักษณ์ภายนอกตามขนบเดิม แต่ทรงเน้นความงามของจิตใจและ ความประพฤติปฏิบัติ พร้อมทั้งน� ำเสนอสารส� ำคัญเกี่ยวกับความรัก ในมิติใหม่ กล่าวคือ เป็นความรักที่เกิดจากความผูกพันใกล้ชิดจนได้ เรียนรู้จิตใจและความประพฤติของกันและกันอย่างถ่องแท้ ลักษณะ เช่นนี้อาจถือได้ว่าเป็นความแปลกใหม่ แตกต่างกับวรรณคดีไทยแต่ เดิมที่มักเน้นความส� ำคัญของรูปโฉมอันงดงามว่าเป็นเหตุแห่งความ ปฏิพัทธ์รักใคร่ ความแปลกใหม่ในด้านน�้ ำเสียงและลีลาของโคลงพระราชนิพนธ์ บทนี้ น่าจะสืบเนื่องมาจากแหล่งที่มาของคติที่น� ำเสนอในโคลงด้วย แต่เดิมนั้น คติต่าง ๆ ในวรรณคดีค� ำสอนมักน� ำมาจากหลักค� ำสอนทาง ศาสนา หรือค่านิยมของสังคม น�้ ำเสียงที่ใช้จึงมุ่งเน้นการสอนให้ปฏิบัติ ตามส่วนในโคลงพระราชนิพนธ์นั้นคติเกี่ยวกับความรักที่ทรงถ่ายทอด ไว้ในโคลงมีลักษณะเป็นทรรศนะของปัจเจกบุคคลที่กลั่นกรองมาจาก ประสบการณ์ เป็นทรรศนะของผู้ที่ได้ผ่านพบและเข้าใจความรักอย่าง ลึกซึ้ง จนสามารถน� ำประสบการณ์ที่ตกผลึกแล้วมาถ่ายทอดให้ผู้อื่น เกิดความกระทบใจและเห็นคล้อยตามได้ ความแปลกใหม่อีกประการหนึ่งของโคลงพระราชนิพนธ์บทนี้ก็ คือ การแต่งตาม “กระทู้” ซึ่งใช้ในความหมายว่า หัวข้อหรือข้อความที่ ตั้งให้อธิบาย โดยปรกติแล้วมักใช้กับการตั้งหัวข้อในการอภิปรายถก เถียงปัญหาต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรม แต่เมื่อน� ำมาใช้กับการ แต่งวรรณคดีจึงเป็นการเปิดโอกาสให้กวีได้แสดงปฏิภาณไหวพริบ อัน เป็นคุณลักษณะส� ำคัญของกวีแต่โบราณที่เรียกว่า “ปฏิภาณกวี” ในที่ นี้ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทาน “กระทู้” ความรักให้เจ้านายที่ตามเสด็จแต่งโคลงอธิบายขยายความตาม ทรรศนะของตน แล้วน� ำมาแลกเปลี่ยนกัน นับได้ว่าการขยายขอบเขต พี่รักนุชนาฏด้วย เห็นใจ จริงแฮ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 171 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=