สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

169 ภายหลังได้มีการรวบรวมโคลงเหล่านี้และทยอยน� ำลงตีพิมพ์ใน หนังสือวชิรญาณวิเศษ ซี่งออกเป็นรายปักษ์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๐ ต่อมา กรรมการหอพระสมุดวชิรญาณจึงได้อนุญาตให้โรงพิมพ์ไทยจัดพิมพ์ เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖ ใช้ชื่อว่า “โคลงสุภาสิตใหม่” มีโคลงทั้ง สิ้น ๓๙๘ บท เฉพาะที่เป็นบทพระราชนิพนธ์มี ๘๗ บท ปัจจุบันโคลง ชุดนี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “โคลงสุภาษิตบางปะอิน” ตามชื่อสถานที่อัน เป็นจุดก� ำเนิดของการประพันธ์ เนื้อหาของบทประพันธ์ เนื้อหาของโคลงสุภาษิตบางปะอินมีความหลากหลายตามกระทู้ ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเจ้าอยู่หัวพระราชทาน กระทู้ส่วนใหญ่ เกี่ยวข้องกับอารมณ์ความรู้สึก ลักษณะนิสัย และความประพฤติของ มนุษย์ ได้แก่ความรัก ความเบื่อหน่าย ความอาลัย ความโทมนัส ความ โสมนัส ความเย่อหยิ่ง ความขลาด ความกล้า ความเกียจคร้าน ความ เพียร เป็นต้น เนื้อหาของโคลงแต่ละบทแสดงทรรศนะหรือให้คติที่ เกี่ยวเนื่องกับกระทู้นั้น ๆ ความหมายของวรรคทอง วรรคทองที่ยกมานี้อยู่ในกระทู้ความรักซึ่งพระบาทสมเด็จพระ จุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เป็นโคลงจ� ำนวน ๔ บท มี เนื้อความกล่าวถึงความรักคู่ครองความรักญาติพี่น้อง ความรักลูก และ ความรักตนเอง ดังนี้ รักเมียรักญาตินี้ รักผิด​ กันนอ ญาติรักสนิท ร้าว รักญาติ ห่อน ขาดจิตปลิด ได้ รักเมียดั่งชีวิต ฉุนเฉียบ กลต่างด้าว แด่นด้าน ยามเกลียด ศัตรู ไป่อยากใกล้ กลับแม้น พี่รักนุชนาฏด้วย เห็นใจ จริงแฮ โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 169 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=