สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
168 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง โคลงบทนี้เป็นโคลงบทหนึ่งในโคลงสุภาษิตบางปะอินซึ่งตีพิมพ์รวม อยู่ในหนังสือประชุมโคลงสุภาษิตพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี/สมัยที่แต่ง พ.ศ. ๒๔๒๐ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี โคลงบทนี้เป็นวรรณคดีค� ำสอน คือวรรณคดีที่มีเนื้อหามุ่งแสดงคติ ปรัชญาในการด� ำเนินชีวิต จริยธรรม หรือข้อประพฤติปฏิบัติของคนใน สังคมกวีอาจน� ำค� ำสอนมาจากค่านิยมความเชื่อหลักธรรมทางศาสนา หรือประสบการณ์ชีวิต รูปแบบค� ำประพันธ์ โคลงสี่สุภาพ วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง เมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จแปร พระราชฐานไปประทับที่พระราชวังบางปะอิน ระหว่างวันที่ ๑๑-๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๒๐ พระองค์ได้พระราชทาน “กระทู้” หรือหัวข้อ ต่าง ๆ เช่น ความรัก ความเกลียดชัง ความงาม ฯลฯ แก่เจ้านายที่ ตามเสด็จให้แต่งเป็นโคลงอธิบายหัวข้อเหล่านั้นตามทรรศนะของตน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ทรงพระราชนิพนธ์ด้วย เช่นกัน บางหัวข้อโปรดให้แต่งเป็น “โคลงกระทู้” ด้วย เช่น “ความรัก” ให้แต่งในกระทู้ “รู้ รัก จัก ดี” “ความงาม” ให้แต่งในกระทู้ “เห็น งาม ตาม ใจ” และโปรดให้น� ำโคลงที่แต่งขึ้นนั้นมาอ่านในเวลาเสด็จออก เพื่อแสดงฝีมือทางการประพันธ์และเป็นที่ส� ำราญพระราชหฤทัยในหมู่ พระบรมวงศานุวงศ์ระหว่างการเสด็จแปรพระราชฐาน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 168 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=