สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

156 กวีวัจน์วรรณนา แพรวพราวทุกบาท โดยเฉพาะในบาทแรกที่มีการเล่นเสียง /อ/ แทบ ทุกค� ำใน “เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย” หรือการเล่นสัมผัส พยัญชนะในบาทต่อ ๆ ไป เช่น ลง–เลข, จัก–จาร–ผจง–จารึก, หยาด– แย้ม–อยู่, ขุน–คิริ–ข้น–ขาด, จันทร–ขจาย–จาก, แล่น–ล้าง–หล้า–อาลัย สัมผัสเหล่านี้มิเพียงเสริมให้โคลงมีเสียงไพเราะ แต่ยังช่วยสร้างความ หมายและจินตภาพที่ชัดเจนด้วย เช่น ในบาท “เอียงอกเทออกอ้าง อวดองค์ อรเอย” ความดีเด่นของบาทนี้อยู่ที่การสรรค� ำที่นอกจาก จะให้เสียงสัมผัสอันแพรวพราวแล้ว ยังให้ภาพและความหมายลึกซึ้ง กินใจที่แสดงให้เห็นถึงความรักอันท่วมท้นในอกของกวี และในบาท “ไฟแล่นล้างสี่หล้า ห่อนล้างอาลัย” นั้นนอกจากจะมีความไพเราะจาก เสียงสัมผัส /ล/ แล้ว ค� ำว่า “ไฟแล่นล้างสี่หล้า” ยังให้ภาพที่ชัดเจนของ เพลิงที่ลุกไหม้เผาผลาญท� ำลายแผ่นดินอย่างรวดเร็ว และเมื่อประกอบ กับค� ำว่า “ห่อนล้างอาลัย” ก็ช่วยย�้ ำให้ผู้อ่านเข้าใจถึงความรักอันยิ่ง ใหญ่มั่นคงของกวีว่า ถึงแม้ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกท� ำลายลงในคราที่ไฟ บรรลัยกัลป์ล้างโลก แต่ความรักความอาลัยของกวีนั้นเป็นอมตะ มิ อาจถูกท� ำลายได้ นอกจากนี้ กลวิธีทางวรรณศิลป์ที่โดดเด่นอีกประการหนี่งของ วรรคทอง ๒ บทนี้ ก็คือการใช้อติพจน์หรือการกล่าวเกินจริงเพื่อแสดง อารมณ์รักอันเข้มข้นของกวี ในบทแรกกวีใช้อติพจน์เพื่อเปรียบเทียบ ว่า แม้จะเอาเขาพระสุเมรุเป็นปากกา เอาปฐพีและน�้ ำในมหาสมุทร แทนหมึกจารึกความรักของกวีในพื้นที่กว้างใหญ่เช่นอากาศก็ยังมิเพียง พอที่จะจารึกความรักของกวีที่มีต่อนางได้หมดสิ้น ส่วนในบทที่สองกวี ใช้อติพจน์ผสานกับการอ้างถึง (allusion) ที่เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ ตอนกัลปวินาศในเตภูมิกถามาแสดงถึงความรักอันมั่นคงที่กวีมีต่อ นาง ตามคติพุทธศาสนาเชื่อว่าเมื่อจะสิ้นกัลป์จะเกิดไฟบรรลัยกัลป์ เผาผลาญท� ำลายทุกสิ่งทุกอย่างแม้กระทั่งจักรวาล อันแสดงให้เห็น ความเป็นอนิจจังของสรรพสิ่ง การอ้างถึงเหตุการณ์ในตอนกัลปวินาศ นี้ ก็เพื่อย�้ ำให้เห็นว่า แม้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในจักรวาลต้องเสื่อมสลายไป คราที่มีไฟบรรลัยกัลป์ล้างโลก แต่ความรักที่กวีมีต่อนางนั้นจะด� ำรงอยู่ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 156 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=