สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
150 กวีวัจน์วรรณนา ความหมายของวรรคทอง โคลง ๒ บทนี้สอนเรื่องการคบคน โดยให้คติว่าบุคคลใดคบคนพาล บุคคลนั้นย่อมกลายเป็นคนไม่ดีไปด้วย และท� ำให้เกียรติยศของตน และวงศ์ตระกูลพลอยเสื่อมเสีย เช่นเดียวกับการน� ำใบหญ้าคาซึ่งเป็น ของสูงมาห่อปลาร้าย่อมท� ำให้ใบหญ้าคาพลอยเหม็นกลิ่นปลาร้าไป ด้วย ส่วนบุคคลใดคบคนดีหรือนักปราชญ์ก็ย่อมจะซึมซับความดีที่ จะช่วยก่อให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน เปรียบกับการน� ำใบพ้อซึ่งไม่มีกลิ่น มาห่อไม้กฤษณาซึ่งมีกลิ่นหอม ใบพ้อก็จะมีกลิ่นหอมตามไม้กฤษณา ไปด้วย ความดีเด่น โคลงบทนี้ให้คติในการเลือกคบคนด้วยการเปรียบเทียบอัน แยบคาย กล่าวคือ เปรียบการคบคนกับการห่อสิ่งของที่มีกลิ่น ท� ำให้ เห็นว่าการคบคนมีอิทธิพลต่อความประพฤติดีชั่วของแต่ละบุคคล กวี ใช้กลิ่นหอมและกลิ่นเหม็นเพื่อสื่อถึงความดีและความชั่ว เพราะกลิ่น เป็นสิ่งที่ฟุ้งกระจายออกไปได้ไกล เช่นเดียวกัน หากผู้ใดคบคนชั่วและ กระท� ำความชั่วตาม ความชั่วนั้นก็จะเป็นที่รับรู้ของสังคมในวงกว้าง และพลอยท� ำให้วงศ์ตระกูลของผู้นั้นเสื่อมเสียตามไปด้วย ส่วนผู้ที่คบ นักปราชญ์และประพฤติดีตาม ความดีนั้นก็จะน� ำความสุขอันยั่งยืน มาสู่ตน การสอนเช่นนี้แสดงให้เห็นลักษณะสังคมสมัยก่อนที่ให้ความ ส� ำคัญอย่างยิ่งแก่วงศ์ตระกูล การประพฤติดีหรือชั่วนั้นมิใช่เรื่องเฉพาะ บุคคล แต่ส่งผลต่อชื่อเสียงของวงศ์ตระกูลโดยรวมด้วย ความแยบคายอีกประการหนึ่งคือการเลือกใช้สิ่งเปรียบอันได้แก่ หญ้าคาปลาร้า ใบพ้อและกฤษณาหญ้าคา(ภาษาบาลีว่ากุสะ)ถือกันว่าเป็น ของสูง ดังที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้ าเจ้ าอยู่ หัวทรง อธิบายไว้ในต� ำนานหญ้าคาว่า พญาครุฑแกล้งท� ำน�้ ำอมฤตหก ระหว่างเหาะผ่านป่าหญ้าคา เพื่อไม่ให้พญานาคได้ดื่ม หญ้าคา จึงเป็นหญ้าศักดิ์สิทธิ์และมีความเป็นอมตะ ส่วนต� ำนานทาง พระพุทธศาสนาก็กล่าวว่า ในคราวที่ทรงบ� ำเพ็ญเพียรเพื่อการ ตรัสรู้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงน� ำหญ้าคาที่พราหมณ์ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 150 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=