สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
137 ความดีเด่น วรรคทองนี้มีความโดดเด่นตรงที่เป็นค� ำกล่าวอ้อนวอนและเตือน สติชายคนรักที่ทั้งเว้าวอนด้วยถ้อยค� ำอ่อนหวานและมีความหมาย คมคายอย่างยิ่ง ดังจะเห็นว่านางพิมใช้ค� ำเรียกพลายแก้วอย่างอ่อน หวานว่า “พ่อแก้วผู้แววตา” “เจ้า” และ “พ่อ” และเมื่อจะห้ามปราม พลายแก้วให้หยุดความเสน่หา นางก็ใช้ถ้อยค� ำที่ไพเราะนุ่มนวลว่า “พิเคราะห์ให้เหมาะก่อนเป็นไร” “กลับไปเถิดพ่อแก้ว” และ “พ่อวาง พิม” นอกจากความอ่อนหวานไพเราะแล้ว เมื่อพิจารณาความหมาย ของเนื้อความ ยังเห็นได้ชัดว่านางพิมใช้ค� ำพูดเตือนสติพลายแก้วซึ่ง ก� ำลังพลุ่งพล่านด้วยอารมณ์ปรารถนาได้อย่างมีวาทศิลป์และหลัก แหลมยิ่ง โดยการเปรียบเทียบความรักความเสน่หาของชายหนุ่ม กับข้าวเพื่อชี้ให้เห็นว่า ความรักใคร่ใหลหลงนั้นมิใช่สิ่งที่จ� ำเป็นหรือ ส� ำคัญที่สุดในชีวิต ไม่เหมือนข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักและขาดไม่ได้ดังนั้น หากร� ำงับหรืองดเว้นความเสน่หาไปก็ไม่ท� ำให้ถึงกับสิ้นชีวิต นอกจากนี้ การที่นางกล่าวเตือนสติพลายแก้วว่า ตัวนางมิใช่สินค้าที่วางเรียงราย ให้คนหยิบชมได้โดยง่าย ยังเป็นการย�้ ำเตือนพลายแก้วให้ตระหนักถึง คุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นหญิงที่ต้องรักนวลสงวนตัว นับเป็น ค� ำกล่าวอ้อนวอนเชิงห้ามปรามที่ลึกซึ้งแยบคายและยากที่ฝ่ายชาย จะโต้แย้งได้ ความโดดเด่นทั้งด้านการใช้ภาษาไพเราะอ่อนหวานและการเตือน สติให้แง่คิดแก่ผู้ที่ก� ำลังลุ่มหลงในความรักและพลุ่งพล่านด้วยอารมณ์ เสน่หา ท� ำให้วรรคทองบทนี้จับใจผู้อ่านตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ตัวน้องมิใช่ของอันเคยขาย ขุนช้างขุนแผน �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 137 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=