สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
125 ขณะก� ำลังพยศวิ่งเตลิดไปทั่ว เมื่อได้ยินเสียงดนตรีลอยมากระทบโสต ประสาท ม้าทั้งฝูงก็ยังหยุดนิ่งฟังด้วยความจับใจในความไพเราะของ เสียงดนตรี พลังอ� ำนาจของเสียงดนตรีเปลี่ยนแปลงได้แม้กระทั่งสิ่ง ไม่มีชีวิตหรือสิ่งที่มีก� ำเนิดต�่ ำช้า ดังค� ำกล่าวของลอเร็นโซว่า “เพราะสิ่ง ใดแม้ไม่มีชีวี หรือชั่วช้ากาลีแสนสามานย์ ก็แผกผิดธรรมดาเวลาที่ ยิน ดนตรีบรรเลงเพลงสมาน” ด้วยเหตุนี้บุคคลที่ “ไม่มีดนตรีการ” ในกมล สันดาน จึงนับว่า “ชอบกล” ยิ่งเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตโดยทั่วไป กวีแสดงให้เห็นความหยาบกระด้างแห่งจิตวิญญาณของบุคคลซึ่ง “ฟังดนตรีไม่เห็นเพราะ” ผ่านการใช้ถ้อยค� ำและโวหารเปรียบเทียบที่ให้ ภาพอันเด่นชัด เช่น การใช้ค� ำว่า “สันดาน” เพื่อแสดงว่าจิตใจอันขาด ความสามารถในการรับรู้ความไพเราะงดงามของศิลปะ เป็นอุปนิสัยที่ ติดตัวมาแต่ก� ำเนิดและฝังรากลึกยากจะเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้การใช้ค� ำ ว่า “ขบถ” “อัปลักษณ์” “อุบาย” และ “ฉมัง” เน้นย�้ ำให้เห็นความชั่วร้าย น่าเกลียดของจิตที่มีแต่จะสร้างความเดือดร้อนและคิดคดทรยศต่อผู้ อื่น แม้มีวิธีการอันแยบคาย แต่ก็ใช้ไปในทางที่ “มุ่งร้าย” อย่างรุนแรง เท่านั้น การเปรียบเทียบจิตใจของบุคคลกับความมืดมิดของกลางคืน และนรก เพื่อให้ผู้อ่านเห็นภาพจิตวิญญาณอันมืดบอดไปด้วยอวิชชา และขุ่นมัวเปรอะเปื้อนจากบาปกรรมอันก่อแต่ความทุกข์ทรมาน จึง ยากที่ความไพเราะงดงามของดนตรีจะแทรกซึมเข้าไปแก้ไขขัดเกลาได้ กวีใช้ถ้อยค� ำและภาพพจน์เหล่านี้สร้างภาพอันน่ารังเกียจเพื่อจะน� ำไป สู่ข้อสรุปในท้ายที่สุดว่า มนุษย์ไม่พึงคบหาสมาคมและให้ความไว้วางใจ แก่บุคคลประเภทนี้ ในขณะเดียวกัน ก็ควรฟังดนตรีเพื่อให้พลังแห่ง เสียงเพลงช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน ไม่เป็นเช่นเดียวกับผู้ที่ “ไม่มี ดนตรี” ในจิตใจ วรรคทองบทนี้ให้ข้อคิดแก่เราว่า บุคคลจะเป็นคนเช่น ใด สามารถตัดสินได้จากความรู้สึกนึกคิดของเขาที่มีต่อเสียงดนตรี คติชีวิตอันคมคายซึ่งสื่อผ่านภาษาที่ให้ภาพอันแจ่มชัดสร้างความ ประทับใจให้แก่ผู้อ่านผู้ชมจ� ำนวนมาก จนมีผู้น� ำวรรคทองบทนี้ไป เป็นเนื้อร้องของเพลง “ฟังดนตรีเถิดชื่นใจ” ซึ่งเป็นที่นิยมขับร้องกัน มาจนถึงปัจจุบัน ชนใดที่ไม่มีดนตรีการ เวนิสวานิช �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 125 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=