สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

122 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง บทละครพูดค� ำกลอนเรื่องเวนิสวานิช ผู้แต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ปี/สมัยที่แต่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี เวนิสวานิชเป็นวรรณคดีประเภทบทละครพูดค� ำกลอน คือ บท ละครที่แต่งด้วยกลอนสุภาพเป็นส่วนใหญ่มีบทเจรจาบางตอนแต่งเป็น ร้อยแก้วแทรกอยู่บ้าง ในตอนที่กล่าวถึงข้อความในหีบ ๓ ใบ แต่งเป็น โคลงสี่สุภาพและโคลงดั้น และในตอนที่กล่าวถึงการบรรเลงและขับ ร้องเพลงขณะที่บัสสานิโยเลือกหีบ แต่งเป็นกลอนดอกสร้อย รูปแบบค� ำประพันธ์ กลอนสุภาพ วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บท ละครพูดเรื่องเวนิสวานิชโดยทรงแปลจากบทละครสุขนาฏกรรม เรื่อง The Merchan of Venice ของวิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ด้วยมีพระราชด� ำริว่า เชกสเปียร์เป็นจินตกวีคนส� ำคัญ ของอังกฤษซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วโลกนอกจากจะมีผู้นิยมน� ำบท ละครของเชกสเปียร์ไปแสดงแล้ว ยังยกย่องกันว่าเป็นหนังสือควรอ่าน เพราะเต็มไปด้วยโวหารอันคมคายและถ้อยค� ำอันไพเราะสละสลวย มี ผู้น� ำไปแปลเป็นภาษาต่าง ๆ มากมาย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในค� ำน� ำของเวนิสวานิชว่า “ข้าพเจ้าก็ ออกจะนึกละอายแก่ใจที่ในภาษาไทยเราไม่มีบ้างอย่างเขา จริงอยู่ ข้าพเจ้าได้ทราบอยู่ว่ามีผู้ได้นิพนธ์เรื่องของเชกสเปียร์ขึ้นแล้ว ๓ ราย... แต่ที่แต่งไว้แล้วทั้ง ๓ รายนี้ไม่ตรงตามแบบเดิมของเชกสเปียร์สักราย �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 122 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=