สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

5 หรือเชื้อชาติ โดยไม่ได้ตระหนักว่าสิ่งเหล่านี้เป็นความแตกต่างแต่เพียง ภายนอก เพราะเมื่อมองทะลุเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ก็จะพบว่าแท้จริงแล้ว ทุกคนล้วนเกิดมาเป็นมนุษย์เหมือน ๆ กัน แม้แต่วิชาความรู้ซึ่งมิใช่สิ่ง ที่ติดตัวมาแต่ก� ำเนิด มนุษย์ก็มีศักยภาพที่จะแสวงหาความรู้ให้เท่า เทียมกันได้ โคลงบทนี้จึงกระตุ้นเตือนให้พิจารณาแก่นแท้ของความ เป็นมนุษย์อย่างลึกซึ้งอันได้แก่คุณธรรมความดี เพราะสิ่งเหล่านี้ขึ้น อยู่กับพื้นฐานจิตใจของแต่ละคน เป็นอุปนิสัยที่ยากจะเปลี่ยนแปลง แก้ไข ดังนั้นมนุษย์จึงควรรักษาคุณธรรมความดีไว้ให้มั่นพร้อมทั้งหมั่น ฝึกฝนอบรมจิตใจของตนให้ละเอียดประณีต เพราะหากจิตใจตกต�่ ำ ก็ย่อมจะลดทอนคุณค่าที่แท้จริงของตนเองลงไปด้วย ในด้านกลวิธีทางวรรณศิลป์ โคลงพระราชนิพนธ์บทนี้ดีเด่นด้าน การสรรค� ำ โดยใช้ค� ำที่เป็นคู่ตรงข้ามซึ่งสื่อถึงลักษณะของมนุษย์ได้ อย่างครบถ้วน และสามารถตีความหมายได้หลายระดับ เช่นในวรรคที่ ว่า “ใหญ่ย่อมเพศผิวพรรณ” แสดงให้เห็นความแตกต่างของบุคคล ทั้ง รูปร่างที่ใหญ่และเล็ก เพศ และสีผิว นอกจากนี้ยังอาจตีความรูปร่างที่ ใหญ่หรือเล็กว่าแสดงถึงอ� ำนาจที่เหนือกว่าหรือด้อยกว่า และตีความสี ผิวว่าหมายถึง เชื้อชาติหรือหมายถึงชนชั้นก็ได้การใช้ค� ำว่า “ชั่ว-ดี”และ “กระด้าง-อ่อน” สามารถสื่อความหมายถึงคนจิตใจชั่วช้ากับคนจิตใจ ดีงาม และคนจิตใจหยาบกระด้างกับคนจิตใจละเอียดประณีตได้อย่าง ครบถ้วนโดยใช้ค� ำเพียง ๔ ค� ำเท่านั้น จากที่กล่าวมานี้ เห็นได้ชัดว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวทรงน� ำประสบการณ์ส่วนพระองค์มากลั่นกรองและถ่ายทอด เป็นบทประพันธ์ที่น� ำเสนอแนวคิดอันเป็นสากล ถึงพร้อมด้วย ความงามทางวรรณศิลป์ท� ำให้สามารถสื่อคติอันลึกซึ้งแยบคายผ่าน กาลเวลามาจนปัจจุบัน ฝูงคนก� ำเนิดคล้าย- คลึงกัน โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 5 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=