สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

114 กวีวัจน์วรรณนา ที่มาของวรรคทอง บทละครพูดสลับล� ำเรื่องวิวาหพระสมุท ผู้แต่ง ศรีอยุธยา (พระนามแฝงของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้า อยู่หัว) ปี/สมัยที่แต่ง พ.ศ. ๒๔๕๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ประเภทของวรรณคดี วิวาหพระสมุทเป็นวรรณคดีประเภทบทละครพูดสลับล� ำ คือ วรรณคดีที่แต่งขึ้นเพื่อใช้แสดงละครที่ด� ำเนินเรื่องด้วยการพูดสลับกับ การร้องเพลง บทเจรจาและบทเพลงที่ร้องมีความส� ำคัญเท่ากัน จะ ตัดอย่างหนึ่งอย่างใดออกไม่ได้เพราะจะท� ำให้เสียเนื้อความ ละครที่มี ลักษณะเช่นนี้ส่วนใหญ่เรียกว่าละครสังคีตแต่ส� ำหรับเรื่อง วิวาหพระสมุท พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเรียกว่าละครพูดสลับล� ำ บทละครเรื่องวิวาหพระสมุทแต่งเป็นร้อยแก้วสลับกับร้อยกรอง บทเจรจาแต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทร้องแต่งเป็นร้อยกรองซึ่งส่วนใหญ่ เป็นกลอนสุภาพ มีกาพย์ฉบัง โคลงวิชชุมาลี อินทรวิเชียรฉันท์ และ ร่ายแทรกอยู่บ้าง บทร้องเหล่านี้เป็นการร้องโต้ตอบกันระหว่างตัวละคร พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงคัดเลือกเพลงไทยเดิม ท� ำนองต่าง ๆ และเพลงสากลจ� ำนวนหนึ่งมาบรรจุไว้อย่างเหมาะสม รูปแบบค� ำประพันธ์ กลอนสุภาพ วัตถุประสงค์/โอกาสในการแต่ง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์บท ละครพูดสลับล� ำเรื่องวิวาหพระสมุทเพื่อใช้แสดงในโอกาสต่าง ๆ โดย เฉพาะอย่างยิ่งแสดงเก็บเงินบ� ำรุงราชนาวีสมาคมแห่งกรุงสยามเพื่อ ซื้อเรือรบ “พระร่วง” �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 114 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=