สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

110 กวีวัจน์วรรณนา “แล” และ “เพ่ง” ซึ่งล้วนสื่อถึงการมองเห็น ท� ำให้ผู้อ่านรู้สึกเหมือนได้ มองเห็นภาพในระยะใกล้ด้วยตนเอง และเน้นย�้ ำว่าไม่ว่าจะมองไปที่ใด ก็เห็นแต่บาดแผลอันเกิดจากการถูกโบยตีอย่างรุนแรงทั่วทั้งร่างกาย จินตภาพที่โดดเด่นในบทประพันธ์นี้ก็คือ จินตภาพของความ เคลื่อนไหว ทั้งภาพของเนื้อที่ถูกตีอย่างรุนแรงจนแตกลึกลงไปกระทั่ง เห็นเส้นเอ็นก� ำลังเต้นระริกสั่นสะเทือนไปทั่วร่างด้วยความเจ็บปวด กวีใช้ค� ำว่า “เต้น” “รัว” “ระริกระริว” และ “ไหว” เพื่อเน้นให้เห็นว่า เนื้อและเส้นเอ็นก� ำลังสั่นไหวถี่ ๆ ไปพร้อมกันทั่วร่างกายอย่างน่า สยดสยอง นอกจากนี้ ยังมีภาพของเลือดที่ไหลออกมาจากบาดแผล อาบเต็มแผ่นหลัง กวีใช้ค� ำว่า “ละลาม” “เลอะ” และ “หลั่ง” ที่ท� ำให้ เห็นว่าเลือดไหลหลั่งออกมาไม่ขาดสาย แผ่ลามเปรอะเปื้อนไปเป็น วงกว้างทั่วร่างกาย ภาพความเคลื่อนไหวของเนื้อ เส้นเอ็น และเลือด บอกให้ผู้อ่านรู้ว่า การโบยตีนี้เพิ่งจบสิ้นลง ณ ขณะนั้น เนื้อตัวจึงยัง แสดงอาการตอบสนองต่อความเจ็บปวดอันรุนแรงที่ได้รับ บาดแผล ก็ยังสดใหม่ ร่างกายก็อยู่ในสภาพบอบช�้ ำยับเยิน จินตภาพอันแจ่มชัด เหล่านี้ท� ำให้ผู้อ่านจินตนาการได้ถึงความเจ็บปวดรวดร้าวทรมานที่ วัสสการพราหมณ์ได้รับอันน� ำไปสู่ความรู้สึกทั้งหวาดกลัว เวทนาสงสาร และอนาถใจไปพร้อมกัน การสร้างจินตภาพอันแจ่มชัดในวรรคทองบทนี้ท� ำให้กวีสามารถสื่อ อารมณ์อันเข้มข้นให้แก่ผู้อ่านได้ทุกยุคสมัย �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 110 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=