สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
3 ความหมายของวรรคทอง โคลงบทนี้เสนอความคิดว่า ความแตกต่างอันส� ำคัญของมนุษย์นั้น อยู่ที่คุณธรรมความดีและความละเอียดประณีตในจิตใจของแต่ละ บุคคล แม้จะมีความแตกต่างกันบ้างในเรื่องรูปลักษณ์ภายนอก เพศ หรือเชื้อชาติ แต่ก็ไม่ใช่ความแตกต่างอันส� ำคัญแม้แต่วิชาความรู้ก็มิได้ ท� ำให้มนุษย์ต่างกัน เพราะมนุษย์สามารถศึกษาเล่าเรียนจนมีความ รู้ความสามารถเท่าเทียมกันได้ คุณธรรมความดีและความประณีต ของจิตใจซึ่งเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยากต่างหากที่ท� ำให้มนุษย์ แตกต่างกันอย่างแท้จริง ความดีเด่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลง บทนี้ขึ้นคราวเสด็จพระราชด� ำเนินประพาสยุโรปครั้งแรก จากการที่ได้ ทรงพบเห็นความเป็นอยู่ของชาวตะวันตก กอปรกับประสบการณ์ส่วน พระองค์ที่ทรงพบปะผู้คนหลากหลายจากการเสด็จประพาสทั้งในและ ต่างประเทศ ท� ำให้ทรงตระหนักว่า เปลือกนอกที่แตกต่างกันทั้งหลาย ของมนุษย์ล้วนเป็นสิ่งสมมติ ความแตกต่างที่แท้จริงของมนุษย์อยู่ที่ จิตใจภายในอันเป็นแก่นแท้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์โคลง ๖ บทลงตีพิมพ์ในหนังสือดุสิตสมิต พ.ศ. ๒๔๖๒ เนื้อหาของโคลงแสดง ความปลาบปลื้มพระราชหฤทัยที่ได้รับพระราชทานโคลงจากพระบรม- ราชชนกในครั้งนั้น ทรงกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะ “ให้สติ” แก่พระองค์และทรงเปรียบโคลง บทนี้กับ “ประทีป” ที่ส่องสว่างน� ำทาง ทั้งยังทรงอธิบายขยายความเพิ่ม เติมโดยเน้นย�้ ำความคิดที่ว่ารูปกายภายนอกหรือวิชาความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ ท� ำให้ชาติใดสูงส่งหรือต�่ ำต้อยกว่าชาติใด สิ่งส� ำคัญคือคุณธรรมความดี ดังปรากฏในโคลงต่อไปนี้ ฝูงคนก� ำเนิดคล้าย- คลึงกัน โคลงสุภาษิต พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๕ �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 3 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=