สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

96 กวีวัจน์วรรณนา ผุดผ่อง) ส่วนค� ำที่ให้จินตภาพของความเคลื่อนไหว เช่น การน� ำค� ำ ว่า อ่อนหยับ (หมายถึง ท่วงทีขึ้นลงเนิบ ๆ) มาใช้เป็นค� ำขยายกิริยา พายเรืออย่างพร้อมเพรียงกันของฝีพาย หรือน� ำค� ำว่า ลินลาศ (หมาย ถึง เยื้องกรายด้วยท่าอันงาม) มาใช้แสดงภาพการเคลื่อนไปของเรือ พระที่นั่งสุพรรณหงส์ท� ำให้เห็นว่า ความงามของเรือพระที่นั่งสุพรรณ- หงส์ที่ “ชดช้อย” อยู่บนผิวน�้ ำนั้น เป็นความงามประดุจว่าเรือพระที่นั่ง นี้มีชีวิต การใช้ความเปรียบแบบอุปมาว่า เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์นั้น “เพียงหงส์ทรงพรหมมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม” นอกจากจะ ท� ำให้เห็นความเคลื่อนไหวดั่งมีชีวิตดังกล่าวข้างต้นแล้ว ยังฉายให้เห็น ภาพความยิ่งใหญ่ของกระบวนเรือพระที่นั่งอันเป็นการยกย่องพระ มหากษัตริย์อย่างสมพระเกียรติ กล่าวคือ แสดงให้เห็นภาพในอุดมคติ ที่คล้ายคลึงกันระหว่าง “แดนชล” ในยามที่พระมหากษัตริย์เสด็จ พระราชด� ำเนินพยุหยาตราทางชลมารคพร้อมหมู่พลพายที่เปี่ยมด้วย ความจงรักภักดี กับ “แดนสวรรค์” ในยามที่พระพรหมเจ้าเสด็จโดย พาหนะทรง การพรรณนาเปรียบเทียบเช่นนี้จึงแสดงนัยของความสูงส่ง และศักดิ์สิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ที่คนไทยนับถือเป็นสมมติเทพ การใช้ภาษาที่สมบูรณ์ด้วยวรรณศิลป์ของกาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรดังวรรคทองนี้ จึงเป็นหลักฐานยืนยันพระอัจฉริย- ภาพทางการประพันธ์และคุณค่าของพระนิพนธ์เรื่องนี้ และท� ำให้ ประจักษ์ชัดว่า เหตุใดนักวรรณคดีจึงยกย่องวรรณคดีเรื่องนี้เป็น วรรณคดีชั้นครูที่ส่งอิทธิพลต่อการประพันธ์กาพย์เห่เรือในยุคต่อมา �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 96 8/8/2557 BE 3:09 PM

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=