สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
95 เนื้อหาของบทประพันธ์ กาพย์เห่เรือพระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศรประกอบด้วยบทเห่๒ ชุด ชุดแรกแบ่งเนื้อหา ออกเป็น ๔ ตอน ได้แก่ เห่ชมกระบวนเรือพระที่นั่ง เห่ชมปลา เห่ชมไม้ เห่ชมนก ชุดที่ ๒ แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๓ ตอน ได้แก่ เห่เรื่องกากี เห่สังวาส และเห่ครวญ วรรคทองที่ยกมานี้คัดมาจากเนื้อหาในตอนเห่ชมกระบวนเรือ พระที่นั่ง ซึ่งพรรณนารูปลักษณ์อันสวยงามและลักษณะพิเศษของ เรือพระที่นั่งและเรืออื่น ๆ ที่ประกอบกันเป็นกระบวน รวมทั้งความ เคลื่อนไหวอย่างพร้อมเพรียงของฝีพาย ความหมายของวรรคทอง พระมหากษัตริย์เสด็จพระราชด� ำเนินทางชลมารคด้วยกระบวน เรือพระที่นั่งอันงดงาม เรือพระที่นั่งกิ่งอันเป็นเรือที่ประทับส่งประกาย ระยิบระยับ ยามพลพายขยับฝีพายขึ้นลงด้วยลีลาเนิบ ๆ เป็นจังหวะ พร้อมเพรียง แลเห็นใบพายที่วาดขึ้นเหนือน�้ ำดูอ่อนช้อย งามจับตา เรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ซึ่งโขนเรือประดับพู่ห้อยดูชดช้อยสง่างาม ยามลอยอยู่เหนือผิวน�้ ำ มีชีวิตชีวาราวกับหงส์อันเป็นพาหนะทรงของ พระพรหมผู้เรืองฤทธานุภาพก� ำลังลอยเลื่อนไปในท้องน�้ ำ นับเป็นภาพ อันงดงามที่เตือนตาให้ใคร่ชมอยู่ไม่เว้นวาย ความดีเด่น วรรคทองบทนี้มีความดีเด่นที่การสรรค� ำอย่างละเอียดประณีตเพื่อ ก่อให้เกิดจินตภาพของกระบวนเรือที่งดงาม มีชีวิต เห็นภาพความ เคลื่อนไหวของเรือพระที่นั่งและความพร้อมเพรียงของหมู่พลพายที่ ท� ำหน้าที่ด้วยจิตใจที่จงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ทั้งยังดีเด่นด้าน การใช้ความเปรียบ ค� ำที่กวีสรรมาใช้เป็นค� ำง่ายที่น� ำมาร้อยเรียงกันอย่างกลมกลืน มี ทั้งค� ำที่ให้จินตภาพความงามของแสง ได้แก่ เฉิดฉาย (หมายถึง งาม ผุดผาดสดใส) แพร้ว (หมายถึง แวววาว) พรรณราย (หมายถึง งาม พระเสด็จโดยแดนชล กาพย์เห่เรือ พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร �������������� 5 of 5_140809_CC.indd 95 8/8/2557 BE 3:09 PM
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=