สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

96 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ต่อมา เจ้าเวียงจันทน์อาสาน� ำกองทัพพระยายมราชจากกรุงเทพฯ ไปตีเมืองเชียงแสน แต่ไม่ส� ำเร็จ ครั้นถึง พ.ศ. ๒๓๔๖ พระเจ้ากาวิละ พระยานครล� ำปาง และเจ้าฟ้าเมืองน่าน ยกไปตีได้เมืองเชียงแสนและ เมืองยอง กวาดต้อนข้าวของผู้คนมาไว้ที่เมืองเชียงใหม่และเมืองล� ำปาง แล้วบอกข่าวราชการลงมายัง กรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๔๘ พระยาเชียงตุงเป็นกบฏต่อกรุงอังวะ อพยพครอบครัวมาอยู่เมืองเชียงใหม่ ขอเป็น ข้าขอบขัณฑสีมากรุงเทพฯ แต่ไม่ช้าก็กลับใจหนีกลับไปเมืองเชียงตุง ปีต่อมาทัพเชียงใหม่และล� ำปางยก ไปตีเมืองเชียงรุ่ง ในที่สุด เจ้าเมืองเชียงรุ่งและท้าวพระยาสิบสองพันนาก็อ่อนน้อมยอมเป็นข้าขอบขัณฑสีมา ของกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. ๒๓๕๗ พระเจ้ากาวิละทรงแบ่งคนเชียงใหม่และล� ำปางมาตั้งเมืองล� ำพูนซึ่งร้างอยู่ ต่อมา พระเจ้ากาวิละประชวร และถึงแก่พิราลัยเมื่อพระชันษา ๗๒ ปี. บรรณานุกรม ประชากิจกรจักร, พระยา. พงศาวดารโยนก. พระนคร : คลังวิทยา, ๒๕๐๗. พระราชพงศาวดาร ฉบับพระราชหัตถเลขา. เล่ม ๑-๒. กรุงเทพฯ : คลังวิทยา, ๒๕๑๖. ราชบัณฑิตยสถาน. สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เล่ม ๒. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๕๐๑. พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ (ครองเมืองเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๓๙๙–๒๔๑๓) พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อันดับที่ ๖ และเป็นโอรสองค์ที่ ๒ ของ พระเจ้ากาวิละ มีพระนามเดิมว่า นายหนานสุริยวงศ์ สมุดขาวเรื่องพงศาวดารเมืองเชียงใหม่ของพระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุนนาค) กล่าวว่า จ.ศ. ๑๑๘๗ ปีดับเร้า (พ.ศ. ๒๓๖๘) นายหนานสุริยวงศ์ได้เลื่อนเป็นพระยาบุรีรัตนเมืองแก้ว ใน พ.ศ. ๒๓๘๑ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วเป็นแม่ทัพ ไปตีต้อนครัวเจ้าฟ้าเมืองนายที่ยกมาตั้ง ณ แขวงเมืองสาด เมืองตอน อันเป็นดินแดนแว่นแคว้นนครเชียงใหม่ ใน พ.ศ. ๒๓๙๑ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วเป็นแม่ทัพยกกองทัพไปตีเมืองเชียงตุงในพม่า แต่ไม่ได้ เมือง เพราะแม่ทัพขาดความสามัคคีกัน ใน พ.ศ. ๒๓๙๕ พระยาบุรีรัตนเมืองแก้วได้เป็นแม่ทัพ สมทบกับ ทัพกรุงเทพฯ ซึ่งมีพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหลวงวงศาธิราชสนิท ทรงเป็นแม่ทัพใหญ่ และเจ้าพระยายมราช เป็นแม่ทัพอีกกองหนึ่งยกไปตีเมืองเชียงตุง แต่ตีเมืองไม่ได้ เพราะพม่าระดมก� ำลังจ� ำนวนมากมาช่วย ฝ่ายไทยจึงถอยทัพคืนมา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=