สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

94 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร บรรณานุกรม เสฐียรโกเศศ. (นามแฝง). “ขอม.” ใน สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. เล่ม ๓ กาลิทาส-ขอม แปรพักตร์. พระนคร : โรงพิมพ์รุ่งเรืองธรรม, ๒๔๙๙-๒๕๐๒. พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. ๒๒๘๕–๒๓๕๗) พระเจ้ากาวิละ เป็นโอรสองค์แรกในจ� ำนวน ๗ องค์ของเจ้าฟ้าชายแก้ว เจ้าเมืองล� ำปาง ประสูติเมื่อ พ.ศ. ๒๒๘๕ เดิมชื่อ เจ้าขนานกาวิละ ต่อมาได้เป็นพระยากาวิละ และได้เป็นก� ำลังส� ำคัญกอบกู้เอกราชให้ ล้านนาพ้นจากอ� ำนาจของพม่า จึงได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองล� ำปางใน พ.ศ. ๒๓๑๗ และเป็นพระยา เชียงใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๒๙ ต่อมา ได้เลื่อนเป็นพระเจ้ากาวิละ เจ้าประเทศราชของไทยใน พ.ศ. ๒๓๔๕ เป็นต้นสกุล ณ เชียงใหม่ ล้านนาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าเมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๑ แม้ว่าอยุธยาจะตีล้านนาคืนได้ในบางสมัย และ ล้านนาเองพยายามตั้งตนเองเป็นอิสระได้ในบางสมัยก็ตาม แต่ส่วนใหญ่พม่ามีอ� ำนาจครอบครองล้านนา ถึงสมัยธนบุรี เจ้าขนานกาวิละ มีปู่ชื่อ นายทิพช้าง ซึ่งเป็นต้นตระกูล เจ้าเจ็ดตน (เจ็ดองค์) นายทิพช้างได้เป็น พระยาสุลวะลือไชย ครองเมืองล� ำปางซึ่งอยู่ใต้อ� ำนาจพม่า ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๗๕–๒๓๐๒ หลังจากนั้น เจ้าฟ้า ชายแก้วได้ครองเมืองล� ำปางสืบต่อมา มีลูกชายทั้งเจ็ดหรือเจ้าเจ็ดตน คือ พระยากาวิละและน้องชาย อีก ๖ คน ซึ่งเป็นก� ำลังส� ำคัญช่วยปกครองบ้านเมือง เจ้าฟ้าชายแก้วมีลูกหญิง ๓ คน คนโตชื่อ เจ้าศิริรจนา (เจ้าศรีอโนชา) ได้เป็นพระอัครชายาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พม่าส่งกองทัพมาปราบล้านนาใน พ.ศ. ๒๓๐๕ และใช้เป็นที่มั่นไปโจมตีกรุงศรีอยุธยา พม่าได้ เบียดเบียนชาวไทยในล้านนามาก เจ้าฟ้าชายแก้วจึงเข้าไปอยู่ปรนนิบัติโป่อภัยคามินีที่เชียงใหม่เพื่อให้พม่า เห็นใจ และให้พระยากาวิละและน้องระวังรักษาเมืองล� ำปาง เจ้าเจ็ดตนสามารถป้องกันเมืองไว้ได้โดยรบ ชนะศึกพระยาจันทร์หนองหล้องและศึกเช็คคายสุริยะ เมืองเถิน ใน พ.ศ. ๒๓๑๒ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่าทรงแต่งตั้งโป่มะยุง่วนเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่ และได้ เบียดเบียนคนไทยในล้านนามากขึ้น ใน พ.ศ. ๒๓๑๔ พระยากาวิละและพระยาจ่าบ้านได้รวบรวมชาว ล้านนาสู้รบพม่าในเมืองเชียงใหม่ แต่พ่ายแพ้พม่า จึงหนีไปหาโป่สุพลาแม่ทัพพม่าประจ� ำเมืองเวียงจันทน์ โป่มะยุง่วนจับเจ้าฟ้าชายแก้วและบุตรภรรยาพระยาจ่าบ้านเป็นตัวจ� ำน� ำ คุมส่งไปเมืองอังวะ ใน พ.ศ. ๒๓๑๗ พระยาจ่าบ้านกับพระยากาวิละกราบบังคมทูลขอให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ส่งกองทัพจากกรุงธนบุรีไปปราบพม่า พระยากาวิละท� ำอุบายให้เจ้าค� ำสมคุมพลพม่า ไทยใหญ่ และลาว ไปตั้งรับกองทัพไทย เหลือก� ำลังเพียงเล็กน้อยรักษาเมืองล� ำปาง พระยากาวิละจึงสังหารข้าหลวงพม่า ตาม ไปชิงบิดาของตนกับครอบครัวของพระยาจ่าบ้านกลับคืนได้ แล้วเข้าสวามิภักดิ์ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสิน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=