สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
90 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แบ่งพลกันใหม่ พ่อขุนบางกลางหาวตีเมืองศรีสัชนาลัย เมืองบางขลงได้ และยก ๒ เมืองนั้นให้แก่พ่อขุน ผาเมือง จากนั้นทั้งสององค์ก็ยกพลมารวมกัน ท� ำอุบายว่าทรงช้างตัวเดียวกัน พ่อขุนผาเมืองยกทัพไปที่ เมืองราด ขอมสบาดโขลญล� ำพงเข้าใจว่าทั้งสององค์มารวมพลอยู่ด้วยกัน จึงยกทัพออกจากเมืองสุโขทัย พ่อขุนผาเมืองจึงตีเมืองสุโขทัยได้ พ่อขุนผาเมืองได้มอบพระขรรค์ชัยศรีและพระนาม “ศรีอินทรบดินทรา ทิตย์” ซึ่งได้รับมอบผีฟ้าเจ้าเมืองยโศธรปุระ (ซึ่งเป็นพระสัสสุระ) ให้พ่อขุนบางกลางหาว พ่อขุนบาง กลางหาวต่อมาก็คือ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ การที่มีการเปลี่ยนแปลงพระนามมาเป็น “ศรีอินทราทิตย์” นั้นเข้าใจว่าพระนาม “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” นั้นเป็นร่องรอยแสดงถึงการรับอิทธิพลของขอม เพราะ ค� ำนี้ประกอบด้วย ศรี + อินทรปัต + อินทร + อาทิตย์ เป็นการยอมรับว่าอยู่ใต้อิทธิพลเมืองอินทรปัต ของขอม จึงทรงใช้พระนามว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” แทน รัชสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ เป็นช่วงเวลาที่สุโขทัยได้ขยายดินแดนกว้างขวางออกไป โดยอาศัย พระปรีชาสามารถของพระโอรสองค์เล็กคือพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช สันนิษฐานว่าคงจะครอบคลุมลงไป ถึงพระบาง (นครสวรรค์) ทางทิศใต้ เพราะดินแดนของราชวงศ์พ่อขุนศรีนาวน� ำถุม และดินแดนของพระยา ลิไทยพระนัดดาของพ่อขุนรามค� ำแหง ทางใต้ก็สิ้นสุดแค่พระบางเช่นกัน อาศัยหลักฐานตามชินกาลมาลี ปกรณ์ พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงติดต่อกับนครศรีธรรมราชเกี่ยวกับพระศาสนาพุทธสายลังกา พระองค์ได้ ทรงรับพระพุทธสิหิงค์มาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ เป็นที่ชื่อกันว่า การค้ากับต่างประเทศของสุโขทัย ในสมัยพ่อขุนรามแหงมหาราชมาจนถึงสมัยอยุธยาประกอบไปด้วยของป่าและเครื่องปั้นเผา แต่จาก การส� ำรวจขุดค้น เตาทุเรียงมีในบริเวณเชลียงและสุโขทัยมาหลายร้อยปีก่อนสมัยสุโขทัยแล้ว จึงน่าจะสรุป ได้ว่า การค้ากับต่างประเทศสมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์คงประกอบด้วยของป่าและเครื่องปั้นเผาเช่นกัน ไม่ปรากฏว่าพ่อขุนศรีอินทราทิตย์สิ้นพระชนม์ในปีใด แต่หลังจากสมัยของพระองค์ พ่อขุนบานเมือง พระโอรสขึ้นเสวยราชสมบัติสืบต่อมา. หนังสืออ้างอิง ๑. เฉลิม ยงบุญเกิด. เมืองไทยในจดหมายเหตุจีน ศิลปากร ปีที่ ๗ เล่ม ๒ . กรกฎาคม ๒๕๐๖. ๒. ประเสริฐ ณ นคร. การอธิบายศิลาจารึกสมัยสุโขทัย โครงการกิตติเมธีสาขาวิชาศิลปศาสตร์ . มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๔๗. ๓. . ต� ำนานมูลศาสนาวัดป่าแดง เชียงตุง . สารัตถคดีประเสริฐ ณ นคร มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์, ๒๕๒๗. ๔. . ประวัติศาสตร์จากจารึกวัดบูรพาราม และวัดอโสการาม . สารนิพนธ์ประเสริฐ ณ นคร จัดพิมพ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, ๒๕๔๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=