สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

86 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร หากผู้ใดไม่ได้รับความเป็นธรรมในกรณีพิพาท ก็มีสิทธิไปสั่นกระดิ่งถวายฎีกาต่อพระมหากษัตริย์ ได้ ยิ่งกว่านั้น พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชยังทรงใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องช่วยในการปกครอง โดยได้ทรงสร้างพระแท่นมนังศิลาบาตรขึ้น ให้พระเถรานุเถระแสดงพระธรรมเทศนาแก่ประชาชนใน วันพระ ส่วนวันธรรมดาพระองค์เสด็จประทับเป็นประธานให้เจ้านายและข้าราชการปรึกษาราชการร่วมกัน เมื่อประชาชนเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนาและประพฤติปฏิบัติแต่ในทางที่ดีที่ชอบ การปกครองก็ สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น ในด้านอาณาเขต พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชได้ทรงขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวางไพศาล คือ ทางทิศตะวันออกทรงปราบได้เมืองสระหลวง สองแคว (พิษณุโลก) ลุมบาจาย สะค้า (๒ เมืองนี้อาจ อยู่แถวลุ่มแม่น�้ ำน่านหรือแควป่าสักก็ได้) ข้ามฝั่งแม่น�้ ำโขงไปถึงเวียงจันทน์ เวียงค� ำในประเทศลาว ทาง ทิศใต้พระองค์ทรงปราบได้คนที (บ้านโคน ก� ำแพงเพชร) พระบาง (นครสวรรค์) แพรก (ชัยนาท) สุพรรณภูมิ ราชบุรี เพชรบุรี นครศรีธรรมราช มีฝั่งทะเลสมุทร (มหาสมุทร) เป็นเขตแดน ทางทิศตะวันตก พระองค์ ทรงปราบได้เมืองฉอด เมืองหงสาวดี และมีสมุทรเป็นเขตแดน ทางทิศเหนือ พระองค์ทรงปราบได้เมืองแพร่ เมืองม่าน เมืองพลัว (อ.ปัว จ.น่าน) ข้ามฝั่งโขงไปถึงเมืองชวา (หลวงพระบาง) เป็นเขตแดน ในด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงท� ำพระราชไมตรีกับพระยา มังรายแห่งล้านนา และพระยาง� ำเมืองแห่งพะเยาทางด้านเหนือ ทรงยินยอมให้พระยามังรายขยาย อาณาเขตล้านนาทางแม่น�้ ำกก แม่น�้ ำปิง และแม่น�้ ำวังได้อย่างสะดวก เพื่อให้เป็นกันชนระหว่างจีนกับ สุโขทัย และยังได้เสด็จไปทรงช่วยเหลือพระยามังรายหาชัยภูมิสร้างเมืองเชียงใหม่เมื่อ พ.ศ. ๑๘๓๙ ทางประเทศมอญ มีพ่อค้าไทยใหญ่ชื่อ มะกะโท เข้ารับราชการอยู่ในราชส� ำนักของพ่อขุนรามค� ำแหง มหาราช มะกะโทได้ผูกสมัครรักใคร่กับพระราชธิดาของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช แล้วพากันหนีไปอยู่ เมืองเมาะตะมะ ต่อมาได้ฆ่าเจ้าเมืองเมาะตะมะแล้วเป็นเจ้าเมืองแทนเมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๔ แล้วขออภัยโทษ ต่อพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช และขอพระราชทานนาม ทั้งยินยอมเป็นประเทศราชของกรุงสุโขทัย ซึ่งพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชได้พระราชทานนามว่า พระเจ้าฟ้ารั่ว ทางทิศใต้ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชได้ทรงอาราธนาพระมหาเถรสังฆราชผู้เรียนจบพระไตรปิฎก มาจากนครศรีธรรมราช เพื่อให้เผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย ส่วนเมืองละโว้ยังเป็นเอกราชอยู่ เพราะปรากฏว่ายังส่งเครื่องบรรณาการไปเมืองจีนอยู่ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๓๔ ถึง พ.ศ. ๑๘๔๐ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชคงจะได้ทรงผูกไมตรีเป็นมิตรกับเมืองละโว้ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงส่งราชทูตไปเมืองจีน ๓ ครั้ง เพื่อแสดงความเป็นมิตรไมตรีกับประเทศ จีน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=