สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
85 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร นายตรี อมาตยกุล ได้เสนอว่า พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชน่าจะเสวยราชย์ พ.ศ. ๑๘๒๒ เพราะเป็น ปีที่ทรงปลูกต้นตาลที่สุโขทัย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จึงได้หาหลักฐานมาประกอบว่า กษัตริย์ ไทอาหมทรงปลูกต้นไทรตอนขึ้นเสวยราชย์อย่างน้อย ๗ รัชกาลด้วยกัน ทั้งนี้เพื่อสร้างโชคชัยว่ารัชกาลจะ อยู่ยืนยงเหมือนต้นไทร อนึ่ง ต้นตาลและต้นไทรเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ของลังกา รัชสมัยของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชเป็นยุคที่กรุงสุโขทัยเฟื่องฟูและเจริญขึ้นกว่าเดิมเป็นอันมาก ระบบการปกครองภายในก่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยอย่างมีประสิทธิภาพ มีการติดต่อสัมพันธ์กับ ต่างประเทศ ทั้งในด้านเศรษฐกิจและการเมือง ไพร่ฟ้าประชาชนอยู่ดีกินดี สภาพบ้านเมืองก้าวหน้าทั้งทาง เกษตร การชลประทาน การอุตสาหกรรม และการศาสนา อาณาเขตของกรุงสุโขทัยได้ขยายออกไปกว้าง ใหญ่ไพศาล พระองค์ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้นใช้เมื่อ พ.ศ. ๑๘๒๖ ท� ำให้อนุชนชั้นหลังสามารถศึกษาความรู้ ต่าง ๆ ได้สืบเนื่องกันมาจนถึงปัจจุบัน ตัวหนังสือไทยของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชมีลักษณะพิเศษกว่า ตัวหนังสือของชาติอื่นซึ่งขอยืมตัวหนังสือของอินเดียมาใช้ คือ พระองค์ได้ทรงประดิษฐ์พยัญชนะ สระ และ วรรณยุกต์ เพิ่มขึ้น ให้สามารถเขียนแทนเสียงพูดของค� ำภาษาไทยได้ทุกค� ำ และได้น� ำสระและพยัญชนะ มาอยู่ในบรรทัดเดียวกันโดยไม่ต้องใช้พยัญชนะซ้อนกัน ท� ำให้เขียนและอ่านหนังสือไทยได้ง่ายและสะดวก มากยิ่งขึ้น นับว่าพระองค์ทรงพระปรีชาล�้ ำเลิศและทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกลอย่างหาผู้ใดเทียบเทียม ได้ยาก ในด้านการปกครอง เมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงขจัดอิทธิพลของเขมรออกไปจากเมืองสุโขทัยได้ ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๘ การปกครองของกษัตริย์สุโขทัยเป็นแบบพ่อปกครองลูก ดังข้อความในจารึก หลักที่ ๑ ว่า “เมื่อชั่วพ่อกู กูบ� ำเรอแก่พ่อกู กูได้ตัวเนื้อตัวปลา กูเอามาแก่พ่อกู กูได้หมากส้มหมากหวาน อันใดกินอร่อยกินดี กูเอามาแก่พ่อกู กูไปตีหนังวังช้างได้ กูเอามาแก่พ่อกู กูไปท่อบ้านท่อเมือง ได้ช้างได้ งวง ได้ปั่วได้นาง ได้เงือนได้ทอง กูเอามาเวนแก่พ่อกู” ข้อความดังกล่าวแสดงการนับถือพ่อแม่ และถือว่า ความผูกพันในครอบครัวเป็นเรื่องส� ำคัญ ครอบครัวทั้งหลายรวมกันเข้าก็เป็นเมืองหรือรัฐ มีเจ้าเมืองหรือ พระมหากษัตริย์เป็นหัวหน้าครอบครัว พระมหากษัตริย์เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัวใหญ่ ปกครองพลเมืองเสมือนเป็นลูกหลาน ช่วยให้มีที่ท� ำกิน คอยป้องกันมิให้คนถิ่นอื่นมาแย่งชิงถิ่น ถ้าลูกหลานทะเลาะวิวาทกันก็ตัดสินคดีด้วยความ เป็นธรรม พระองค์มีพระราชอ� ำนาจสิทธิ์ขาดที่จะบริหารราชการแผ่นดิน ท� ำศึกสงคราม ตลอดจนพิพากษา อรรถคดี แต่พระองค์ก็มิได้ทรงใช้พระราชอ� ำนาจเฉียบขาดอย่างกษัตริย์เขมร ดังปรากฏข้อความในจารึก หลักที่ ๑ ว่า ราษฎรสามารถค้าขายได้โดยเสรี เจ้าเมืองไม่เรียกเก็บจกอบหรือภาษีผ่านทาง ผู้ใดล้มตายลง ทรัพย์สมบัติตกเป็นมรดกแก่ลูก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=