สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

84 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ภาษาพูด ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของคนไทยในสิบสองปันนาคล้ายคลึงกับของ คนไทยในล้านนา ซึ่งมีอาณาเขตครอบคลุม ๘ จังหวัดในภาคเหนือของประเทศไทยในปัจจุบัน ทั้งนี้สาเหตุ ใหญ่ประการหนึ่ง คือ ตามพงศาวดารน่านเจ้าและเอกสารจีน พระเจ้ามังรายทรงยกกองทัพไปตีเมือง เชียงรุ่ง ๒ ครั้งใน พ.ศ. ๑๘๔๐ และ พ.ศ. ๑๘๔๑ ตามพงศาวดารโยนก พระเจ้าติโลกราชทรงยกกองทัพ ไปตีสิบสองปันนาใน พ.ศ. ๑๙๙๘ และ พ.ศ. ๑๙๙๙ และในสมัยพระยากาวิละ ทัพล้านนาตีได้เมืองต่าง ๆ ในสิบสองปันนา รวมทั้งเมืองเชียงรุ่ง และได้กวาดต้อนชาวไทยลงมาไว้ในจังหวัดทางภาคเหนือเป็นจ� ำนวน มาก. [สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๔ หน้า ๑๕๕๕๔−๑๕๕๕๖, ๒๕๓๙] พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชทรงเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ ๓ ในราชวงศ์พระร่วงแห่ง ราชอาณาจักรสุโขทัย เสวยราชย์ประมาณ พ.ศ. ๑๘๒๒ ถึงประมาณ พ.ศ. ๑๘๔๑ พระองค์ทรงรวบรวม อาณาจักรไทยจนเป็นปึกแผ่นกว้างขวาง ทั้งยังได้ทรงประดิษฐ์ตัวอักษรไทยขึ้น ท� ำให้ชาติไทยได้สะสม ความรู้ทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิชาการต่าง ๆ สืบทอดกันมากว่า ๗๐๐ ปี พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ของพ่อขุนศรีอินทราทิตย์กับนางเสือง พระเชษฐาองค์แรกสิ้นพระชนม์ตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ พระเชษฐาองค์ที่ ๒ ทรงพระนามตามศิลาจารึกว่า พระยาบานเมือง และได้เสวยราชย์ต่อจากพระราชบิดา เมื่อสิ้นพระชนม์แล้ว พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช จึงได้เสวยราชย์แทน ตามพงศาวดารโยนก พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชแห่งสุโขทัย พระยามังรายมหาราช (หรือพระยา เม็งราย) แห่งล้านนา และพระยาง� ำเมืองแห่งพะเยา เป็นศิษย์ร่วมพระอาจารย์เดียวกัน ณ ส� ำนัก พระสุตทันตฤๅษีที่เมืองละโว้ จึงน่าจะมีอายุรุ่นราวคราวเดียวกัน พระยามังรายประสูติเมื่อ พ.ศ. ๑๗๘๒ พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชน่าจะประสูติในปีใกล้เคียงกันนี้ เมื่อพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชมีพระชนมายุ ๑๙ พรรษา พระองค์ได้ทรงท� ำยุทธหัตถีมีชัยต่อพ่อขุน สามชน เจ้าเมืองฉอด (อยู่บนน�้ ำแม่สอดใกล้จังหวัดตาก แต่อาจจะอยู่ในเขตประเทศพม่าในปัจจุบัน) พ่อขุน ศรีอินทราทิตย์จึงทรงขนานพระนามพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชว่า “พระรามค� ำแหง” สันนิษฐานว่าพระนาม เดิมของพระองค์คือ “ราม” เพราะปรากฏพระนามเมื่อเสวยราชย์แล้วว่า “พ่อขุนรามราช” อนึ่ง สมัยนั้น นิยมน� ำชื่อปู่มาตั้งเป็นชื่อหลาน พระราชนัดดาของพระองค์มีพระนามว่า “พระยาพระราม” (จารึก หลักที่ ๑๑) และในชั้นพระราชนัดดาของพระราชนัดดา มีเจ้าเมืองพระนามว่า “พระยาบาลเมือง” และ “พระยาราม” (เหตุการณ์ พ.ศ. ๑๙๖๒ ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์)

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=