สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

83 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ค� ำศัพท์พวกน่านเจ้าที่จดส� ำเนียงไว้ตรงกับภาษาของโลโลซึ่งอยู่ในตระกูลภาษาทิเบต-พม่า อีกทั้ง ธรรมเนียมการตั้งชื่อซึ่งเอาค� ำท้ายของชื่อพ่อมาตั้งเป็นค� ำต้นของชื่อลูกก็ไม่ตรงกับธรรมเนียมของชนชาติ ไทย แต่ตรงกับธรรมเนียมของพวกโลโล เช่น พีล่อโก๊ะมีลูกชื่อโก๊ะล่อฝง มีหลานชื่อฝงกาอี นักภาษาศาสตร์ให้เหตุผลว่า ถ้าหากยูนนานเป็นถิ่นก� ำเนิดของชนชาติไทยมาแต่ดั้งเดิมก็ควรจะมี ภาษาถิ่นหลากหลายชนิดอยู่รอบ ๆ ยูนนาน แต่ไม่ปรากฏว่ามีภาษาไทยถิ่นเช่นว่านั้น ชนชาติไทยในยูนนาน ใช้ภาษาไทยเหนือและไทยลื้อ ซึ่งจัดว่าเป็นภาษาถิ่นภาษาเดียวกับไทยขาวและไทยลื้อทางทิศตะวันออก ไทยลื้อทางใต้และไทยเขินทางทิศตะวันตก และไม่เคยมีรายงานว่า มีภาษาไทยถิ่นอื่นอยู่เหนือ ยูนนานขึ้นไปเลย เว้นแต่ชนชาติไทยที่เพิ่งอพยพขึ้นไปอยู่ใหม่ในระยะ ๒๐๐-๓๐๐ ปีมานี้ ยูนนานจึงน่า จะเป็นดินแดนเหนือสุดที่ชนชาติไทยอพยพขึ้นไป ดินแดนที่มีภาษาไทยถิ่นมาก ได้แก่ มณฑลกวางสีของ จีนต่อกับเดียนเบียนฟูของเวียดนาม ปัจจุบันนี้ไม่มีคนพื้นเมืองที่เป็นชนชาติไทยอยู่ในคุนหมิงและต้าหลี่ ยกเว้นพวกคนไทยในสิบสอง ปันนาที่ขึ้นไปหางานท� ำและมีอยู่เป็นจ� ำนวนน้อยมาก สิบสองปันนาเป็นเขตปกครองตนเองของประเทศจีน อยู่ในมณฑลยูนนานทางภาคใต้ มีเชียงรุ่งเป็น เมืองหลวง อยู่ห่างจากคุนหมิงลงไปประมาณ ๗๘๐ กม. ชนชาติไทยในสิบสองปันนาเป็นพวกไทยลื้อ ไทยเหนือ ไทยด่อนหรือไทยขาว และไทยปอง อาณาเขตของสิบสองปันนาทางทิศตะวันออกติดกับเมืองอูเหนือ เมืองอูใต้ เมืองบุ่นเหนือ และเมือง บุ่นใต้ของประเทศลาว มีแม่น�้ ำของ (โขง) ไหลผ่านกลาง แม่น�้ ำนี้มีต้นน�้ ำอยู่ใต้เมืองต้าหลี่ ค� ำ “สิบสอง ปันนา” เป็นเสียงอ่านของไทยในยูนนานจากค� ำ “สิบสองพันนา” ในภาษาเขียน เดิมแบ่งการปกครองออก เป็นสิบสองหัวเมืองใหญ่หรือพันนา ตามที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงรุ่ง ขุนเจื๋องเป็นกษัตริย์องค์แรกของเชียงรุ่ง และ สวรรคตใน พ.ศ. ๑๗๗๒ ท้าวรุ่งแก่นชายเป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔ มีธิดาชื่อนางเทพค� ำกราย (เทพค� ำขยาย) อภิเษกกับเจ้าชายเชียงแสน ตรงกับพงศาวดารโยนกว่า นางเทพค� ำกรายอภิเษกกับลาวเม็ง และมีโอรสคือ พระเจ้ามังราย (เม็งราย) ผู้ทรงรวบรวมอาณาจักรล้านนาขึ้นเป็นปึกแผ่น กษัติรย์องค์สุดท้ายของเชียงรุ่ง คือเจ้าหม่อมค� ำลือ (พ.ศ. ๒๔๙๐) เป็นกษัตริย์องค์ที่ ๔๔ และสิ้นสภาพเป็นกษัตริย์ของสิบสองปันนาเมื่อ ประเทศจีนประกาศสถาปนาประเทศเป็นสาธารณรัฐประชาชนจีน ชนชาติไทยในสิบสองปันนาส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาแบบเถรวาท ซึ่งสันนิษฐานว่า จะเผยแผ่ เข้าไปในสิบสองปันนาหลังจากการสังคายนาพระพุทธศาสนาเป็นครั้งที่ ๘ ของโลก ในรัชสมัยพระเจ้า ติโลกราชแห่งล้านนาใน พ.ศ. ๒๐๒๐ เพราะคนไทยในสิบสองปันนาเองกล่าวว่า พระพุทธศาสนาเพิ่งเข้า สู่ดินแดนของตนเมื่อประมาณ ๓๐๐ ปีมานี้

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=