สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
69 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ๓. ค� ำว่า “พ่อขุน” พบแต่ในศิลาจาฤกศุโขไทยหลักเดียว เรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินสยามที่ ครองพระนครศุโขไทยเปนราชธานี ว่า “พ่อขุนศรีอินทราทิตย์” แล “พ่อขุนรามค� ำแหง” จาฤกนี้เปน กระแสรับสั่งของพระเจ้าขุนรามค� ำแหง แต่เดิมข้าพเจ้าเข้าใจว่า ค� ำ พ่อขุน ซึ่งใช้ในศิลาจาฤกนั้น จะเปน การแสดงพระองค์ว่าเปนพ่อของราษฎร แต่เมื่อมาระลึกถึงความจริง ที่มีวิธีเรียกเจ้าเมืองน้อย ๆ ว่า “พ่อ เมือง” ยังมีอยู่ทางหัวเมืองไทยใหญ่จนทุกวันนี้ เปนชื่อใช้มาแต่โบราณ ดังพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในเรื่องพระร่วง ว่าเปนพ่อเมืองลโว้ เมื่อค� ำว่า พ่อเมือง เปนยศผู้ปกครอง เมืองเปนแน่แล้ว ก็ชวนให้เห็นว่า ค� ำว่า พ่อขุน จะยกเปนยศเหมือนกัน บางทีจะหมายความว่า พระเจ้า แผ่นดินที่มีอาณาจักรกว้างขวาง มีขุน คือ ประเทศราชขึ้นอยู่หลายเมือง จึงยกพระเกียรติยศเปนพ่อขุน แต่เห็นจะไม่ได้ใช้ค� ำนี้อยู่ช้านาน เพราะไม่ได้พบในที่อื่นอิก นอกจากศิลาจาฤกหลักเดียวที่ได้กล่าวมาแล้ว ๔. ค� ำว่า “ขุนหลวง” เห็นจะเปนค� ำแก้มาจาก พ่อขุน แปลให้ตรงศัพท์ มหาราชา ในภาษามคธ แต่ไม่พบใช้ในหนังสือราชการ เห็นแต่ใช้กันในค� ำพูดอย่างเราเรียกพระเจ้ากรุงธนบุรีว่า “ขุนหลวงตาก” ทุกวันนี้ ๕. ยังมีค� ำที่เรียกเจ้าครองเมืองอิกค� ำ ๑ คือ ค� ำว่า “ท้าว” มูลเดิมจะมาจาก “เจ้า” หรือจะมาจาก ค� ำใด ข้าพเจ้ายังตรองไม่เห็น มักใช้มากในหนังสือที่แต่งกันในภาษาไทย แม้จนชั้นหลังลงมา เช่น ท้าวดาหา ท้าวกุเรปัน ท้าวยศวิมล ท้าวสามนต์ ท้าวสญชัย ผู้ชนกของพระเวสสันดร ในเรื่องมหาชาติ แลท้าวทศรถ ผู้ชนกของพระรามจันทร ในเรื่องรามเกียรติ์ แต่ค� ำว่า ท้าว นี้ที่ใช้ที่จริงเห็นจะใช้ทางหัวเมืองไทยข้างฝ่าย เหนือ ด้วยยังปรากฏค� ำว่า “ท้าวเพี้ย” ซึ่งมาจากค� ำว่า “ท้าว” แล “พระ” อย่างในหนังสือที่อ้างมาแล้ว ที่เรียกท้าวยศวิมล พระสังข์ ท้าวสญชัย พระเวสสันดร ท้าวทศรถ แล พระราม พระลักษมณ์ เปนต้น ในครั้งนครศุโขทัยเปนราชธานี ภายหลังพ่อขุนรามค� ำแหงครองราชสมบัติ ณ พระนครศุโขไทย เพียงสัก ๕๐ ปี ในศิลาจาฤกของพระมหาธรรมราชา (ลิไทย) ผู้เปนพระราชนัดดา ที่ได้สืบพระวงษ์ ต่อมา ในนครศุโขไทย พระนามพระเจ้าแผ่นดิน เปลี่ยนขึ้นค� ำว่า “พญา” ส่วนจาฤกภาษาเขมรใช้ขึ้นพระนามว่า “พระบาทกมรเดงอัต” หาได้ใช้ค� ำว่า พ่อขุน ดังแต่ก่อนไม่ ครั้นมาถึงสมัยเมื่อกรุงศรีอยุทธยาเปนราชธานี บรรดาหนังสือเก่าที่ได้พบ คือ บานแพนกในกฎหมาย เปนต้น พระนามพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุทธยา เลิกใช้ขึ้นด้วยค� ำว่า “พระยา” อย่างครั้งศุโขไทย ใช้ค� ำว่า พระบาทสมเด็จบรมบพิตรพระเจ้าอยู่หัว หรือ พระเปนเจ้า คล้ายกับแบบที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ เห็นจะเปนด้วยกรุงศรีอยุทธยาอยู่ใกล้กับเมืองเขมร แลตีเมือง เขมรได้หลายคราว กวาดผู้คนครอบครัวเข้ามามาก จะได้ผู้รู้แบบแผนราชประเพณีทางกรุงกัมพูชา ซึ่ง เก่ากว่าแบบแผนที่ใช้อยู่ครั้งนครศุโขไทยเข้ามา แบบแผนครั้งกรุงเก่า จึ่งเจือไปข้างราชประเพณีกรุงกัมพูชา มาก ค� ำว่า พระยา กลับไปใช้เรียกผู้ปกครองต่างประเทศ เช่น เรียกเจ้ากรุงกัมพูชาว่า พระยาลแวก เปนต้น ลงมาจนตอนปลายกรุงเก่าจึงเรียกเปนอย่างอื่น”. [สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๒๐ หน้า ๑๓๐๓๘–๑๓๐๔๑, ๒๕๒๘–๒๕๒๙]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=