สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

68 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ตัวอย่างที่ปรากฏในศิลาจารึก คือ พ่อขุนศรีนาวน� ำถุม (น�้ ำท่วม) กษัตริย์แห่งราชอาณาจักรเชลียง สุโขทัย พ่อขุนผาเมือง กษัตริย์เมืองราด เมืองลุม และเมืองสะค้า ซึ่งสันนิษฐานกันว่า อยู่แถวลุ่มแม่น�้ ำน่าน หรือมิฉะนั้นก็แถวแควป่าสัก พ่อขุนบางกลางหาว (หรือเดิมอ่านผิดเป็น พ่อขุนบางกลางท่าว) ซึ่งต่อมา เปลี่ยนพระนามเป็นพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ พ่อขุนรามค� ำแหง (หรือพ่อขุนรามราช) ๒ พระองค์นี้เป็น พระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรศรีสัชนาลัยสุโขทัย ตัวอย่างกษัตริย์แคว้นเล็ก ๆ เช่น ขุนสามชนแห่งเมืองฉอด และตัวอย่างพระนามของเจ้านายที่มี บรรดาศักดิ์สูง เช่น พระรามค� ำแหงซึ่งเป็นพระนามเดิมของพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช เรื่องค� ำว่า “พ่อขุน” นี้ หนังสือจดหมายเหตุ เรื่องทรงตั้งพระบรมวงษานุวงษ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ จนตลอดรัชกาลที่ ๕ พิมพ์ตามที่พบต้นร่าง พ.ศ. ๒๔๕๗ โรงพิมพ์กรุงเทพฯ เดลิเมล์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์ไว้ในค� ำน� ำว่าดังนี้ (ตามต้นฉบับเก่า) “ค� ำที่เรียกพระเจ้าแผ่นดินไทยแต่โบราณมา เห็นใช้ ๕ ค� ำ คือ ๑. พระองค์ ๒. ขุน ๓. พ่อขุน ๔. ขุนหลวง ๕. ท้าว มูลเหตุที่ใช้ค� ำ ๕ ค� ำนี้ ข้าพเจ้ายังไม่พบอธิบายในที่ใด ๆ ได้แต่สันนิษฐานตามเค้าเงื่อนที่ได้พบใน หนังสือเก่าต่าง ๆ ๑. ค� ำว่า “พระองค์” สงไสยว่าจะหมายความอย่างเดียวกับค� ำว่า “นัก” ของเขมร ซึ่งแปลความ ว่า “ท่าน” เพราะฉนั้น ในภาษาชั้นหลังลงมา เมื่อใช้ค� ำว่าพระองค์เนื่องด้วยพระเจ้าแผ่นดินจึงมักใช้เปน แต่สรรพนาม ที่มาของศัพท์ซึ่งเรียกพระเจ้าแผ่นดินว่าพระองค์นี้ พบแต่ในหนังสือต� ำนานโยนกเรื่องเดียว แต่เห็นเปนหลักถานอยู่ ด้วยในชั้นหลังเลื่อนเอาลงมาใช้เปนยศในราชตระกูล ๒. ค� ำว่า “ขุน” เปนค� ำในภาษาไทย (บางทีจะเปนค� ำเดียวกับที่จีนเรียกว่า กุ๋น) ส� ำหรับเรียกเจ้าที่ ครองแผ่นดินมาเก่าแก่ช้านาน ตั้งแต่ไทยยังอยู่ในเมืองเดิม ที่เปนประเทศจีนฝ่ายใต้ บรรดาเจ้าไทยที่ครอง เมืองเรียกว่า ขุน มีตัวอย่างทั้งในศิลาจาฤกแลหนังสือเก่าหลายเรื่อง เช่น เรียกขุนสามชนเจ้าเมืองฉอด ขุนบรมที่ครองอาณาจักร์สิบสองจุไทย ขุนเจืองที่ครองเมืองเซ่า (คือ เมืองหลวงพระบางครั้งเปนเอกราช) เปนต้น แลมีนามเจ้าครองเมืองในอาณาจักร์ลานนาไทยซึ่งเรียกว่า ขุน แจ้งอยู่ในหนังสือต� ำนานโยนก เปนอันมาก ค� ำว่า ขุน นี้ใช้ติดต่อลงมาจนขุนหมากรุก ยังเรียกกันอยู่ในทุกวันนี้ ก็หมายความว่าผู้เปนเจ้า เปนใหญ่นั้นเอง

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=