สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

67 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร จารึกหลักที่ ๘ (ประมาณ พ.ศ. ๑๙๑๑) ได้กล่าวถึงอาณาเขตของสุโขทัยสมัยพระเจ้าลิไทยว่า จดกับอาณาเขตของเจ้าพระยาผากอง เจ้าเมืองน่าน เมืองพลัว และตามจารึกหลักที่ ๙ พระเจ้าลิไทยยก ไปตีเมืองแพร่ได้ใน พ.ศ. ๑๙๐๒–๑๙๐๓ พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐได้กล่าวถึงเรื่อง ท้าวผาคองมา ช่วยสุโขทัยรบกับสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๑ ที่เมืองชากังราว (ก� ำแพงเพชร) เมื่อ พ.ศ. ๑๙๑๑ และ ทัพท้าวผาคองแตก จับได้ตัวท้าวพระยาและเสนาขุนหมื่นครั้งนั้นมาก จารึกหลักที่ ๖๔ (พ.ศ. ๑๙๓๕) ได้กล่าวถึงเมืองน่าน เมืองพลัว เมืองแพร่ และเมืองงาว ว่าอยู่ใน อาณาเขตของกษัตริย์น่าน ราชวงศ์ของพระยาผากองมีดังต่อไปนี้ พระยาภูคา ครองเมืองย่างหรือภูคา มีโอรสบุญธรรม ๒ องค์ คือ ชุมนุ่ม (น่าจะตรงกับปู่มุงในจารึกหลักที่ ๔๕) ตั้งและครองจันทบุรี (อาจจะเป็นเวียงจันทน์) ทางตะวันออก ของแม่น�้ ำโขง และขุนฟอง (จารึกว่าปู่ฟอง) ตั้งและครองเมืองพลัว โอรสขุนฟอง คือ เจ้าเก้าเกื่อน (จารึกว่า ปู่ฟ้าฟื้น ตามตัวอักษรธรรมลานนา เก้าเกื่อนและฟ้าฟื้นมีลักษณะใกล้เคียงกันมาก) โอรสเจ้า เก้าเกื่อน คือ ขุนใส หรือใส่ยศ ต่อมาเป็นพระยาผานอง ครองเมือง พ.ศ. ๑๘๖๓–๑๘๙๒ (จารึกว่า ผากอง) เจ้าไสผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๘๙๒–๑๘๙๔ เจ้ากานเมืองผู้เป็นพระเชษฐาครองเมือง พ.ศ. ๑๘๙๔– ๑๙๐๔ เจ้ากานเมืองสร้างและย้ายมาครองเมืองที่แซ่แห้งตั้งแต่ พ.ศ. ๑๙๐๐ พระยาผากองผู้เป็นโอรส ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๐๔–๑๙๒๙ พระยาผากองมาสร้างเมืองน่านที่เวียงกุมบ้านห้วยไค้ เมื่อ พ.ศ. ๑๙๐๙ พระยาค� ำต้นผู้เป็นโอรส ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๒๙–๑๙๓๙ เจ้าศรีจันต๊ะผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๓๙ เจ้าหุงผู้เป็นพระอนุชา ครองเมือง พ.ศ. ๑๙๔๑–๑๙๔๘ เจ้าปู่เข็งผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๔๘–๑๙๕๘ เจ้าพันต้น ผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๕๘–๑๙๖๗ เจ้างั่วผาสุมผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๖๗–๑๙๗๔ เจ้าอินต๊ะแก่นผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๗๔ และครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๑๙๗๖–๑๙๙๑ เจ้าแปง ผู้เป็นพระอนุชาครองเมือง พ.ศ. ๑๙๗๕–๑๙๗๖ เจ้าผาแสงผู้เป็นโอรสครองเมือง พ.ศ. ๑๙๙๑–๒๐๐๒ ในฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่สมัยพระเจ้าติโลกราช ต่อจากนั้นเชียงใหม่ส่งคนมาครองเมืองน่าน. [สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๑๙ หน้า ๑๒๒๒๔–๑๒๒๒๖, ๒๕๒๗] พ่อขุน ในสมัยสุโขทัยตอนต้น “พ่อขุน” เป็นค� ำขึ้นต้นพระนามพระเจ้าแผ่นดินแห่งราชอาณาจักรใหญ่ ในขณะที่ “ขุน” เป็นค� ำขึ้นต้นพระนามพระเจ้าแผ่นดินแคว้นเล็ก ๆ ส่วน “พระ” เป็นพระนามเจ้านาย ที่มีบรรดาศักดิ์สูง ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไทย) พระนามพระเจ้าแผ่นดินจึงเปลี่ยนไป ขึ้นต้นด้วยค� ำว่า “พญา” หรือ “พระญา” แล้วเปลี่ยนไปเป็น “สมเด็จพระ” หรือ “พระเจ้า” ในสมัยอยุธยา จนในที่สุดในสมัยรัตนโกสินทร์ ต้องเป็น “พระบาทสมเด็จ” จึงจะเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ค� ำว่า “พ่อขุน” ประกอบไปด้วยค� ำว่า “ขุน” ซึ่งเป็นค� ำเรียกพระนามพระเจ้าแผ่นดินแคว้นเล็ก ๆ และค� ำว่า “พ่อ” ซึ่งแสดงว่าเป็นหัวหน้าของขุนในแคว้นต่าง ๆ เทียบได้กับค� ำว่า “แม่” ในค� ำ “แม่ทัพ”

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=