สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
61 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เกษตรกร ผู้ที่ประกอบอาชีพหรือผู้ได้รับการฝึกฝนมาในทางเกษตรกรรมเป็นต้นว่า ชาวนา ชาวสวน คนเลี้ยงไก่ คนเลี้ยงโคนม ฯลฯ เดิมใช้ค� ำว่า กสิกร ปัจจุบันนี้ใช้ทั้งเกษตรกรและกสิกร ในความหมาย เดียวกัน. [สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ หน้า ๑๕๐๗, ๒๔๙๙-๒๕๐๒] เกษตรกรรม การท� ำไร่นาหรือเลี้ยงสัตว์ก็ได้ และอาจจะหมายถึงศิลปะและวิทยาแห่งการเพาะปลูกหรือ เลี้ยงสัตว์ในไร่นาก็ได้ เดิมใช้ค� ำว่า กสิกรรม มาก่อน ต่อมานิยมใช้ค� ำสองค� ำนี้ในความหมายเดียวกัน และ บางทีก็ใช้ค� ำว่า เขตรกรรม ด้วย ค� ำนี้ความหมายตรงกับค� ำ Agriculture ในภาษาอังกฤษ โดยเฉพาะ ค� ำว่า กสิกรรม ในปัจจุบันนี้เป็นชื่อกรมกรมหนึ่ง ซึ่งมีประวัติและหน้าที่โดยสังเขปดังต่อไปนี้ กรมกสิกรรม เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔ กระทรวงเกษตราธิการได้เริ่มตั้งกรมช่างไหมขึ้น และเปลี่ยนชื่อ เป็นกรมเพาะปลูก ตั้งแต่เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นต้นมา และรวมงานปศุสัตว์เข้าไว้ด้วย ได้จัดตั้ง สวนทดลองการเพาะปลูก (สถานีกสิกรรม) ขึ้นเป็นแห่งแรก ที่อ� ำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๘ และจัดท� ำนาทดลองขึ้นที่คลองรังสิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙ นับเป็นก้าวใหม่ในการคัดพันธุ์ และขยายพันธุ์ข้าวที่ดีที่สุดมาแนะน� ำแก่ราษฎร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ ได้ตั้งสวนทดลองผลไม้ขึ้นที่ คลองบางกอกน้อย ต่อมาได้โอนกรมเพาะปลูกไปสมทบกับกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ ตั้งเป็นกรมตรวจ กสิกรรม สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม ตั้งแต่วันที่ ๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๔ เมื่อวันที่ ๓ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมเกษตร สังกัดกระทรวงเศรษฐการ และเมื่อวันที่ ๓๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๖ ได้รวมกรม ๒ กรมเป็นกรมเกษตรและการประมง สังกัด กระทรวงเกษตราธิการ ซึ่งแยกออกมาต่างหากจากกระทรวงเศรษฐการ กรมประมงกลับแยกออกไปอีก เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ และได้แยกกองสัตวบาลและกองสัตวรักษ์จากกรมเกษตร ไปตั้งเป็นกรมปศุสัตว์และ สัตว์พาหนะ ตั้งแต่วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๘๕ กรมเกษตรได้เปลี่ยนนามไปเป็นกรมการกสิกรรม เมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ และเปลี่ยนเป็นกรมกสิกรรมเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๗ กรมการข้าวแยกออกไปจากกรมกสิกรรมตั้งแต่วันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๖ หน้าที่โดยย่อ กรมกสิกรรมมีหน้าที่ท� ำการทดลองค้นคว้าเกี่ยวกับพืชไร่ พืชสวน อันรวมทั้ง ผัก ไม้ผล ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชสวนใหญ่ เช่น ยาง การท� ำไร่นาผสม เรื่องแมลงและโรคพืช การปราบศัตรูพืช การส� ำรวจดิน การวิเคราะห์ดิน การใช้ปุ๋ย การคัดและขยายพันธุ์พืชที่เหมาะสมกับท้องถิ่น และท� ำการ ส่งเสริมพืชต่าง ๆ ออกหนังสือพิมพ์และเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการกสิกรรม. [สารานุกรมไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เล่ม ๓ หน้า ๑๕๐๗−๑๕๐๘, ๒๔๙๙−๒๕๐๒]
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=