สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
41 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร แบะ – แหวะ โบ๋ – โหว่ ฉะนั้นในนิราศหริภุญชัยบทที่ ๒๖ “อก บ่า บินแฮ” แปลว่า อก หว่า หรือ ว้าเหว่ แต่ไทขาวใช้ เมืองบ่า แปลว่า เสียงเมือง อกบ่าจะเหมือนกับขวัญหายไปกระมัง หมาว้อ แปล ว่า หมาบ้า คงจะตรงกับหมา บอ นั่นเอง ฟ กับ ล ในมังรายศาสตร์ กฎหมายของพระเจ้ามังราย (เม็งราย) มีค� ำ พีก แปลว่า หลีก ท� ำให้ คิดได้ว่า เฟอะ เลอะ เฟือน เลือน เฟะ เละ ฯลฯ ใช้แทนกันได้ โคลงทวาทศมาสบทที่ ๖๓ “พระพรุณ รายเรื่อยฟ้า เฟ็ดโพยม” เฟ็ดโพยม แปลว่า เล็ดจากฟ้า ท� ำให้นึกถึงพระเจ้าฟ้ารั่ว ยวนพ่ายบทที่ ๔๓ “ลวงแส้ง เฟดไฟ่ อ้อม เอาชัยเชี่ยวแฮ” เชิงตั้งใจเล็ดลอดออกไปแล้วไล่ล้อมข้าศึก เฟดไฟ่ เท่ากับ เล็ด ไล่ ค� ำว่า ลวง หมายถึง ทาง (ล้านนา) หรือ เชิง บทที่ ๔๐ ใช้ กล บทที่ ๔๑ ใช้ เชิง บทที่ ๔๒-๔๔ ใช้ ลวง ในความหมายเดียวกันว่า ในทาง ในมหาชาติค� ำหลวงมี “เจ้าฟ้าฟอก ไพชยนต์” เปรียบเทียบ พระพุทธเจ้าเหมือนพระอินทร์ ฟอก ตรงกับ ลอก ภาษาไทอาหม แปลว่า เนรมิต เจ้าฟ้าฟอกไพชยนต์ คือ พระผู้เนรมิตไพชยนต์ขึ้นมา สมัยโบราณมีอักษรควบกล�้ ำมากกว่าในปัจจุบัน เช่น ม กับ ล จารึกหลัก ๒ ใช้ฟ้า แมลบ ปัจจุบัน ภาคกลางใช้ แลบ ล้านนาใช้ แมบ ในท� ำนองเดียวกันนี้ มีค� ำ มลื่น – ลื่น – มื่น มล้าง – ล้าง – ม้าง เราอาจจะแปล ไม้มลาย ไม่ออกแล้ว แต่ไทยล้านนาใช้ มาย แปลว่า คลายออก ฉะนั้นไม้ม้วนเขียน ปลายม้วนเข้า ไม้มลายเขียนปลายคลายออกไป ค� ำว่า มลาก แปลว่า ดี เช่น ยินมลาก ฉะนั้นผู้ลาก มากดี ก็แปลว่า ผู้ดีดีดี นั่นเอง ล กับ ว เช่น จารึกหลักที่ ๑ หลวัก ปัจจุบันภาคกลางใช้ หลัก แหลม อีสานและล้านนาใช้ หลวก แปลว่า ฉลาด ปักษ์ใต้ไม่ใช้ค� ำนี้ แต่ไทยในกลันตันใช้ หลวก เหมือนกัน ในกลันตันยังใช้ค� ำ ผ้าผึ้ง แปล ว่า ผ้าเช็ดหน้า ยืนยันค� ำในไตรภูมิพระร่วงหน้า ๑๒๔ “นางอสันธิมิตตา” ได้ให้ทานผ้าผึ้งแก่พระปัจเจก โพธิเจ้า ฉบับแก้ไขใหม่ได้แก้ ผ้าผึ้ง เป็น น�้ ำผึ้งไปเสีย แต่ในหน้า ๑๐๑ ยังมีข้อความยืนยันว่า “ได้ถวาย ผ้าเช็ดหน้าผืนหนึ่ง” (ได้มาจากนายฉันทัส ทองช่วย วิทยานิพนธ์เรื่อง “ภาษาไทยในกลันตัน” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ง กับ ว เช่น งว้าย (ล้านนา) แปลว่า วกกลับ งัว และ วัว น่าจะมาจาก งวัว ทางล้านนาเรียก แมงวัน ว่า แมงงูน วันวานว่า วันงวา โคลงโบราณมีค� ำ ไหง้ว และ ไหงว เช่น ยวนพ่าย บทที่ ๒๖๘ “หาญเราต่อเต่งง้วงไหงวฤา” แปลว่า ทวยหาญของเราจะสู้กับช้างไหวหรือ ตัวอย่างค� ำภาษาถิ่นในจารึกหลักที่ ๑ และ ๒ จารึกหลักที่ ๑ เตียมแต่ – ตั้งแต่ เกลื่อน – เคลื่อน (ดูยวนพ่ายบทที่ ๘๑ “กลัวกลับเกลื่อนพลอยายอยังออก”)
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=