สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

40 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ผู้มีตระกูลดีได้และ “ชีสาท่านกุมเลียวลาญชีพ ก็ดี” แม้ว่าท่านจะจับประหารชีวิตเสียก็ตาม แต่ในโคลง ทวาทศมาส บทที่ ๘๘ และ ๘๙ ชีสา อาจจะแปลว่า แม้ว่า หรือจะแปลอย่างพจนานุกรมว่า ค� ำเรียก ผู้เป็นใหญ่ ก็น่าจะพิจารณาดู “วายุโอบพระพรุณเป็น เมฆกลุ้ม ชีสามุ่งใจโจม จรจ่อม เอานา ในเมฆอันคลุ้มคลุ้ม โอบมา” “ครไลครลั่งแล้วกระมัง แม่ฮา จับบ่เริ่มนุชคลา ถ่านี้ ชีสาอยู่ใน บังวา ยุเมฆ โพ้นนา เจตกมลผี้ ผี้ รวบเอา” เราจะน� ำบัตรค� ำเหล่านี้มาเทียบกัน เมื่อเป็นค� ำในวรรณคดียุคเดียวกันหรือใกล้กันเทียบกับ พจนานุกรมไทยทุกถิ่นรวมทั้งภาคกลาง และเทียบกับพจนานุกรมภาษาของชาติที่อยู่ใกล้เคียงกับไทย การใช้พจนานุกรมภาษาอื่น เมื่อได้เทียบค� ำในพจนานุกรมภาษาถิ่นว่าตรงกับค� ำใดในภาคกลาง โดยสังเกตพยัญชนะต้นว่า เป็นอักษรสูง กลาง หรือต�่ ำ และเสียงวรรณยุกต์ของภาษาถิ่น ท� ำให้ก� ำหนดได้ว่าตรงกับรูปวรรณยุกต์ใด ในภาษาภาคกลางแล้ว เราก็จะเริ่มดูค� ำแปลของศัพท์แต่ละค� ำ ถ้าหากความหมายตรงกับค� ำภาคกลาง หรือเป็นค� ำภาษาถิ่นที่เราทราบความหมายอยู่แล้ว เราก็จะอ่านผ่านไป ถ้าค� ำแปลใดผิดแปลกจากที่เคย ทราบ เราจะขีดเส้นใต้ไว้ เช่น คอน (ไทขาว) เป็นค� ำกริยาแปลว่า จับคอน ซึ่งไม่ปรากฏในภาคกลาง หากเป็นค� ำที่น่าสนใจ เช่น ก้องข้าว แปลว่า ต� ำข้าว ถ้าเช่นนั้นค� ำ ข้าวกล้อง จะแปลว่า ข้าวต� ำ หรือไม่ เราก็อาจจะเติมดอกจันไว้ดอกหนึ่ง ถ้าหากเป็นค� ำที่เราเคยพบในวรรณคดีหรือจารึกที่ยังแปลไม่ออก หรือแปลออกแต่ยังหาหลักฐานไว้อ้างอิงยังไม่ได้ เราก็อาจเติมเครื่องหมายดอกจันไว้สองดอก เช่น ก๊าน (ค้าน) แปลว่า พังลง โคลงนิราศหริภุญชัยบทที่ ๖๕ “สองตราบมัคคาพัง ค่นค้าน” และมหาชาติ ค� ำหลวง หน้า ๓๓๘ “คือจะค่นค้านไพรสะเทือน” โค่นค้าน จึงแปลว่า พังทลาย เฟือด แปลว่า กระฉอก ล้นออก นิราศหริภุญชัย บทที่ ๒๔ “เหราเฟือดพัดฟองคือค่าย งามเอย” คือ แปลว่า คูเมือง อนึ่งค� ำ ที่ออกเสียงเอือ ของไทไย้ ตรงกับเสียงอา ในไทยภาคกลาง และค� ำที่ออกเสียงอา ของไทไย้ ตรงกับ เสียงเอือของภาคกลางหลายค� ำ เฟือด จึงตรงกับ ฟาด ผู้บรรยายพยายามหาค� ำภาคกลางที่ตรงกับ เมือ คือ มา ในล้านนา ซึ่งแปลว่า ไป มา ไม่ได้ บัดนี้จึงทราบว่า เมือ คือ มา นั่นเอง และ เตื้อ (เทื่อ) ของล้านนาแปลว่า ครั้ง ก็ตรงกับค� ำ ท่า ในกราบงามสามท่า คือ สามครั้ง นั่นเอง การเทียบพยัญชนะที่แทนที่กันได้ ในตอนต้นได้กล่าวมาแล้วว่า ล ด น ใช้แทนกันได้ ยังมีพยัญชนะอื่นที่ใช้แทนกันได้ เช่น บ กับ ว บาก – หวาก บ่าย – อว่าย บ�๋ ำ – หว� ำ บิ่น – วิ่น บุ๋ม – หวุม เบ้อ – เว่อ เบอะ – เหวอะ

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=