สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
39 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ในทางตรงกันข้าม ถ้าเปิดปากกว้างแล้วหุบปากให้แคบลง อา + อี เป็นสระไอ อา + อู เป็น สระอาว ส่วน อา + อือ เป็นสระใอไม้ม้วน ซึ่งปัจจุบันเราออกเสียงเป็นแบบเดียวกับสระไอไม้มลายไป เสียแล้ว แต่จะสังเกตได้ว่า ไทยบางถิ่นออกเสียงสระใอ เป็นสระอือก็มี เช่น ให้ เป็น หื้อ บางถิ่น ออกเสียงเป็นสระเออ ลากเสียงยาว เช่น ใจ เป็น เจ้อ (ไทใหญ่) และในโคลงประกาศแช่งน�้ ำ ผาเยอ เท่ากับ ผาใหญ่ ดังนี้เป็นต้น ๓. การกลายเสียงของวรรณยุกต์ ค� ำที่มีพยัญชนะต้นเป็นอักษรต�่ ำรูปวรรณยุกต์ โท เช่น ช้าง จะออกเสียงเป็น ซ่าง ในภาษาถิ่น อีสาน ค� ำ เชื้อ ก็ย่อมออกเสียงเป็น เซื่อ ในภาษาถิ่นอีสานเช่นกัน การเทียบค� ำจากภาษาถิ่นต่าง ๆ มาเป็นค� ำไทยมาตรฐานจะต้องเทียบเสียงวรรณยุกต์ให้ ถูกต้องตามกลุ่มอักษรสูง กลาง ต�่ ำ และตามรูปวรรณยุกต์ด้วย เช่น ภาษาถิ่นล้านนา จ อาจจะตรงกับ จ หรือ ช ในภาคกลางก็ได้ ฉะนั้นจึงต้องฟังเสียงวรรณยุกต์ประกอบด้วย ใจ๋ (เสียงจัตวา) ตรงกับ ใจ ภาคกลาง แต่ ไจ (เสียงสามัญ) ตรงกับ ชัย ของภาคกลาง สถานี เด่นชัย เมืองแพร่ควรจะเป็น เด่น ใจ เพราะชาวบ้านเรียกว่า เด่นใจ๋ ส่วนเรื่องพระลอตามไก่ “ขันขานเสียง เอาใจ ” น่าจะเป็นไก่ขัน เอาชัย มากกว่า ยวนพ่ายบทที่ ๑๖๔ “หัวเมือง แซ่ห่ม ห้าว แหนทวาร รอบแฮ” แซ่ห่ม ตรงกับ แช่ห่ม ออกเสียง ช เป็น ซ แบบอีสานและตรงกับอ� ำเภอ แจ้ห่ม จังหวัดล� ำปาง ตามเสียงของล้านนา ยวนพ่าย ใช้ กรุงลาว แทน กษัตริย์ลาว และ หัวเมืองแซ่ห่ม แทน เจ้าเมืองแจ้ห่ม บัตรค� ำ เมื่ออ่านวรรณคดีหรือศิลาจารึก ผู้บรรยายจะขีดเส้นใต้ค� ำศัพท์ที่แปลไม่ได้ หรือเป็นค� ำศัพท์ที่มี อยู่ในภาษาถิ่น เพื่อเตรียมไว้เป็นตัวอย่างอธิบายให้นักศึกษาฟัง ถ้ามีเวลา ควรจะถ่ายทอดค� ำศัพท์เหล่านั้น ลงในบัตรขนาดเล็ก บัตรละค� ำ คัดประโยคที่พบลงไว้ในบัตรและบอกที่มาว่าได้มาจากเรื่องใด หน้าใด หรือ เป็นโคลงบทที่เท่าใด แล้วน� ำบัตรค� ำเหล่านั้นมาเรียงตามล� ำดับอักษร ค� ำศัพท์ค� ำเดียวกันที่พบจากที่ต่าง ๆ ก็จะไปรวมอยู่กลุ่มเดียวกัน มีประโยคตัวอย่างหลายประโยค ท� ำให้มีทางแปลความหมายได้ถูกต้อง เช่น ค� ำ บัดแมง พบในมหาชาติค� ำหลวงหน้า ๑๒๑ “ธก็เสด็จเอาอาศนบัดแม่งแห่งต้นไทร” และใน ศิลาจารึกหลักที่ ๒ ด้านที่ ๑ บรรทัดที่ ๗๗ “เมื่อรุ่งจึงเสด็จออกอยู่บัดแมงให้คนทั้งหลายเห็น” อีสาน ใช้ บัดแม้ง แปลว่า ชั่วขณะหนึ่ง การรวบรวมศัพท์โดยใช้บัตรค� ำนี้ มีข้อควรระวังเกี่ยวกับความหมายที่เปลี่ยนแปลงไปตาม ยุคสมัย เช่น ค� ำว่า ชีสา แปลว่า แม้ว่า ในยวนพ่ายบทที่ ๑๐๗ และบทที่ ๑๒๑ “ชีสาท่านโอนเอาดีต่อ ก็ดี คิดใคร่ควักดีผู้เผ่าดี” แม้ว่าท่านทั้งหลายโอนอ่อนท� ำดีต่อ ก็โดยหวังที่จะควักความดีออกมาจาก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=