สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

37 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร โคลงนิราศหริภุญชัย ว่า “จาก เจียน ฉ้อฟ้าโลก ลงดิน” อาจารย์ภาษาไทยมักจะอธิบายว่า เจียน มาจาก เจียร แปลว่า นาน ความจริง เจียน น่าจะเป็นค� ำคู่กับ จาก (เหมือนอย่าง ข้าศึก คู่กับ ข้าเสือ) เพราะทวาทศมาสใช้ว่า “วัน เจียน สุดาภินท์” ถ้าจะน� ำศัพท์แต่ละค� ำมาศึกษาก็จะมีมากมายเกินไป จะขอกล่าวถึงหลักใหญ่ของการกลายเสียง ของพยัญชนะ สระ และวรรณยุกต์ ที่จะช่วยตีความหมายของศัพท์ในศิลาจารึกและวรรณกรรมโบราณ ของไทยได้อย่างมีหลักเกณฑ์และเหตุผล ดังนี้ ๑. การกลายเสียงของพยัญชนะ หลักที่ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ วรรค กะ ก ข ค ฆ ง วรรค จะ จ ฉ ช ฌ ญ วรรค ตะ ต ถ ท ธ น วรรค ปะ ป ผ พ ภ ม กฎข้อที่ ๑ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียงพยัญชนะหลักที่ ๓ (อักษรต�่ ำ) ไม่ได้ ใช้เสียงพยัญชนะ หลักที่ ๑ (อักษรกลาง) ในวรรคเดียวกันแทน เช่น เค้า เป็น เก๊า ช้าง เป็น จ๊าง ทุ่ง เป็น ต้ง พ่อ เป็น ป้อ กฎข้อที่ ๒ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ร เป็น ฮ เช่น รัก เป็น ฮัก กฎข้อที่ ๓ ภาษาถิ่นล้านนาออกเสียง ฉ เป็น ส เช่น แม่ (น�้ ำ) ฉอด เป็น แม่ สอด กฎข้อที่ ๔ พยัญชนะหลักที่ ๑ ควบกับ ร กลายเป็นพยัญชนะหลักที่ ๒ ในวรรคเดียวกัน เช่น กราบ เป็น ขาบ ตราบ เป็น ถาบ ปราบ เป็น ผาบ เราอาจอธิบายได้ดังต่อไปนี้ เวลาเขียนอักษร โรมัน ก – K ข – Kh คือ ก + ฮ นั่นเอง ฉะนั้น เมื่อล้านนาออกเสียง ก + ร เป็น ก + ฮ หรือ Kh จึงเป็น ข ไปนั่นเอง กฎข้อที่ ๕ ภาษาล้านนาไม่มีเสียงอักษรควบกับ ร และ ล ถ้าพยัญชนะต้นควบกับ ล ก็จะ ไม่ออกเสียง ล เลย เช่น ปลา อ่านว่า ป๋า ถ้าเราท� ำปากเตรียมไว้ออกเสียง บ แต่ท� ำเสียงขึ้นจมูก เสียงที่ออกมาจะเป็น ม ไป เช่น ค� ำ มะขาม ถิ่นล้านนาออกเสียงเป็น บะขาม ท� ำนองเดียวกัน ถ้าเราท� ำปากเตรียมไว้ออกเสียง ด แต่ท� ำเสียง ขึ้นจมูก เสียงที่ออกมาจะกลายเป็น น ไป ฉะนั้น ค� ำว่า ดอน กับ โนน ในภาษาถิ่นจึงเป็นค� ำเดียวกัน และ นนถี ในนิราศหริภุญชัย ก็ตรงกับ ดนตรี นั่นเอง ในขณะเดียวกัน ไทใหญ่ออกเสียง ด เป็น ล เช่น เมือง ดอย ออกเสียงเป็นเมือง หลอย ในจารึก หลักที่ ๒ “จง เดร หา” เดร แปลว่า เที่ยวเตร่ ตรงกับ เล ใน กาเลหม่านไต ซึ่ง ศ. ดร.บรรจบ พันธุเมธา

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=