สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

36 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ปาฐกถา เรื่อง ภาษาถิ่นกับศิลาจารึก โดย ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ราชบัณฑิต จัดโดย ส� ำนักธรรมศาสตร์และการเมือง ราชบัณฑิตยสถาน ณ ห้องราชา โรงแรมรัตนโกสินทร์ กรุงเทพมหานคร วันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ชาวอีสานคิดว่าศิลาจารึกหลักที่ ๑ จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช เขียนด้วยภาษาถิ่นอีสาน ชาวล้านนาเห็นว่า จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชเขียนด้วยภาษาถิ่นล้านนา และชาวปักษ์ใต้ก็ว่า จารึก พ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชใช้ภาษาถิ่นใต้ มีแต่คนภาคกลางบอกว่า อ่านจารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราช ไม่ค่อยเข้าใจ ชาวอีสานและชาวล้านนาพูดกับไทลื้อที่เชียงรุ่ง สิบสองปันนาได้เข้าใจเกือบร้อยละ ๑๐๐ ไทมาว หรือไทยเหนือที่มณฑลยูนนาน ประเทศจีน สื่อสารกับชาวอีสาน ชาวล้านนา และชาวใต้ได้สะดวก แต่พูดกับคนภาคกลางไม่ค่อยรู้เรื่อง เพื่อนไทมาวของผู้บรรยายบอกว่าอ่านจารึกพ่อขุนรามค� ำแหง มหาราชเข้าใจได้ดี แต่อ่านหนังสือพิมพ์เมืองไทยไม่ค่อยเข้าใจ ทั้งนี้เพราะภาษากลางมีค� ำยืมจากภาษา เขมรและบาลีสันสกฤตปนอยู่มาก คนไทยที่เกิดในภูมิภาคต่าง ๆ จึงควรภาคภูมิใจว่าสามารถพูดกับคนไทนอกประเทศได้รู้เรื่อง อ่านวรรณกรรมโบราณของไทย และอ่านจารึกโบราณของไทยรู้เรื่องดีกว่าคนภาคกลาง ภาษาไทยโบราณบางค� ำในศิลาจารึกสุโขทัยยังใช้กันอยู่ในท้องถิ่นและนอกประเทศ เช่น กว่า จารึกใช้ว่า ล้มตายหายกว่า ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ อธิบายไว้ว่า ภาษาไทยโบราณในเมืองจีนแปล ว่า เสีย เช่น ตายกว่าแล้ว หลวงวิจิตรวาทการ แปลว่า จาก เพราะสมัยนี้ใช้ว่า ล้มหายตายจาก ผู้บรรยาย เคยเรียนเสนอพระยาอนุมานราชธนว่า น่าจะแปลอย่างภาษาไทใหญ่ว่า ไป ซึ่งท่านก็เห็นพ้องด้วย ต่อมาได้อ่านค� ำแปลที่อาจารย์ใหญ่ภาษาไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่า ไป และมาจากค� ำเดียวกับ คลา ผู้บรรยายเห็นว่า กว่า แปลว่า ไป แน่นอน ดังปรากฏในโคลงนิราศนรินทร์ว่า “จรรโลงโลก กว่า กว้าง” จารึกพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชว่า “ด้วยรู้ด้วย หลวัก ” ค� ำ หลวัก นี้ออกเสียง ห ล ว ควบกัน ออกเสียงยาก ภาคกลางจึงตัดลงเหลือ หลัก แปลว่า หลักแหลม แต่ภาษาถิ่นล้านนาใช้ หลวก แปลว่า ฉลาด

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=