สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
32 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร การค� ำนวณหาวันเดือนปีต่าง ๆ กล่าวได้ว่าท่านให้ความรู้ด้านอักขรวิทยาและจารึกวิทยาไปพร้อม ๆ กัน ท่านเป็นครูที่ใจเย็น ใจดี เป็นกันเองกับนักศึกษา ท� ำให้บรรยากาศในห้องเรียนผ่อนคลาย เรียนสนุก และ ยิ่งได้ความรู้มากขึ้นเมื่อมีค� ำถามมาถาม เพราะจะได้รับค� ำตอบและค� ำอธิบายเพิ่มเติมโดยมีหลักฐานจาก จารึกประกอบอย่างกว้างขวางจากท่านเสมอ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร สอนจารึกที่ภาควิชาภาษาตะวันออก จนถึง พ.ศ. ๒๕๕๘ หลังจากนั้นท่านกรุณาไปช่วยบรรยายในบางหัวข้อในแต่ละรายวิชา การบรรยายครั้งสุดท้ายเป็นการ บรรยายเกี่ยวกับจารึกสุโขทัยให้แก่ผู้เข้าอบรมใน “โครงการอบรมการอ่านจารึกสุโขทัยส� ำหรับครู มัธยมศึกษา” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ซึ่งโครงการนี้ภาควิชาภาษาตะวันออก จัดขึ้นเพื่อเป็นการสักการะแด่ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ในวาระอายุวัฒนมงคล ๙๙ ปี นอกจากการสอนแล้ว ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้ใช้ความรู้ทางด้านจารึก โบราณศัพท์ ภาษาถิ่น ตลอดจนประสบการณ์การอ่านจารึกและเอกสารโบราณของท่าน ให้เกิดประโยชน์ต่อการประชุม วิชาการของหลายหน่วยงาน โดยเฉพาะการประชุมของกรมศิลปากร เช่น การประชุมคณะอนุกรรมการ พิจารณาจารึกที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ไทย และการประชุมคณะกรรมการวิชาการหลายคณะของ ส� ำนักงานราชบัณฑิตยสภา อาทิ คณะกรรมการช� ำระและศึกษากฎหมายไทยโบราณ คณะกรรมการ จัดท� ำพจนานุกรมโบราณศัพท์ คณะกรรมการจัดท� ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคเหนือ คณะกรรมการจัดท� ำพจนานุกรมศัพท์วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ภาคอีสาน คณะกรรมการด� ำเนินงานจัดท� ำ พจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคเหนือ คณะกรรมการด� ำเนินงานจัดท� ำพจนานุกรมภาษาไทยถิ่น ภาคอีสาน ซึ่งคณะกรรมการในการประชุมที่ยกตัวอย่างมานี้ ต่างก็ประจักษ์ในความรอบรู้ในค� ำศัพท์โบราณของท่าน ประหนึ่งมีคลังค� ำในสมองที่สามารถน� ำมาใช้วิเคราะห์ถ้อยค� ำต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ท่านสามารถวินิจฉัย ตีความส� ำนวนภาษาแบบโบราณและสรุปใจความได้กระชับชัดเจน โดยเฉพาะที่เป็นภาษากฎหมายโบราณ ช่วยให้ที่ประชุมสามารถให้ค� ำอธิบายศัพท์หรืออธิบายความต่าง ๆ ได้ และท� ำให้การประชุมผ่านไปได้ด้วยดี ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เป็นแบบอย่างในการด� ำรงตนและการปฏิบัติหน้าที่ราชการ ได้อย่างประเสริฐ เป็นนักวิชาการที่ประเสริฐด้วยคุณธรรมและความใจกว้าง ท่านมีผลงานเขียนจ� ำนวนมาก ทั้งหนังสือและบทความนับ ๑๐๐ เรื่องที่มีคุณค่าอเนกอนันต์ต่อวงวิชาการด้านประวัติศาสตร์ไทย จารึกสุโขทัย จารึกล้านนา ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นไทย ถือเป็นมรดกทางปัญญาที่ท่านมอบให้คนรุ่นหลัง ได้ศึกษาเพิ่มพูนความรู้หรือใช้เป็นพื้นฐานในการศึกษาวิจัย และเป็น “ครูผู้ประเสริฐ” ที่มีความจริงใจ มีความปรารถนาดีต่อลูกศิษย์มานานกว่า ๗๐ ปี ท่านจึงมีลูกศิษย์หลายรุ่นจากหลายสถาบันที่ได้สืบทอด และน� ำความรู้ที่ได้รับจากท่านไปใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือสร้างสรรค์งานให้เกิดประโยชน์ต่อ ประเทศชาติสืบต่อไป
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=