สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

31 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ที่ท่านเห็นว่าความดูจะขัดแย้งกับประวัติศาสตร์ เมื่อได้ตรวจสอบก็พบว่าจารึกแตกตรงค� ำนั้นพอดี แต่ยัง เห็นส่วนต้นของพยัญชนะตัวแรกและตัว ก ชัดเจน ท่านคิดว่าพยัญชนะตัวแรกเป็นตัว ห ท่านจึงส่ง หลักฐานไปให้ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ผู้อ่านจารึก พิจารณาเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๗ ซึ่งศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ ได้ตอบกลับว่า เห็นด้วยกับค� ำอ่านใหม่ที่จะเป็นค� ำว่า “หาก” และข้อความในตอนนั้นก็จะเป็น “อันตน หาก ประดิษฐาแต่ก่อน” พร้อมทั้งขอบคุณที่ชี้ให้เห็นข้อผิดที่อ่านไปและยินดีที่จะพิจารณา ข้อแนะน� ำอื่น ๆ ที่อาจจะมีต่อไป การได้รับจดหมายจากศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ คงจะท� ำให้ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ภาคภูมิใจและมีความมั่นใจในการศึกษาจารึกมากขึ้น ดังที่ท่านได้ เขียนไว้ว่า ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดส์ เป็นปราชญ์ยิ่งใหญ่ที่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่ไม่มีผลงานด้าน จารึกมาก่อนเลย ซึ่งผลส� ำเร็จครั้งนั้นเป็นแรงผลักดันให้ท่านศึกษาจารึก และประการส� ำคัญท� ำให้ท่าน ตั้งปณิธานไว้ว่า “ข้าพเจ้าเห็นว่าคนไทยต้องอ่านจารึกให้ได้ ถ้าไม่มีคนไทยคนอื่นอ่านได้ ข้าพเจ้าจะต้อง อ่านให้ได้เอง...” และท่านได้มุ่งมั่นท� ำตามปณิธานนั้นมาตลอดชีวิต ด้วยการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับจารึก ทั้งในประเทศและจารึกที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยในต่างประเทศ สนับสนุนส่งเสริมการเปิดหลักสูตรด้าน จารึกศึกษา อีกทั้งยังเขียนหนังสือ บทความ บรรยายในการประชุมสัมมนาทางวิชาการต่าง ๆ จนเป็นที่ ยอมรับในหมู่นักวิชาการว่า ท่านเป็นเอตทัคคะทางด้านจารึกและประวัติศาสตร์สุโขทัย และที่ส� ำคัญยิ่งคือ ท่านได้ถ่ายทอดศาสตร์ด้านการอ่านจารึกและเอกสารโบราณ ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นให้แก่นักศึกษา ในสถาบันการศึกษาหลายแห่งอีกด้วย ส� ำหรับที่คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากรนั้น ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้กรุณา มาเป็นอาจารย์พิเศษ สอนวิชาการอ่านจารึกสุโขทัยและจารึกล้านนาให้แก่นักศึกษาชั้นปีที่ ๔ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๒ เป็นต้นมา ตามค� ำเชิญของศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล คณบดีในขณะนั้น ต่อมา เมื่อปีการศึกษา ๒๕๑๙ ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะโบราณคดี ซึ่งมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ร.อ. เสนีย์ วิลาวัลย์ เป็นหัวหน้าภาควิชา ได้เปิดหลักสูตรระดับมหาบัณฑิตเกี่ยวกับจารึก ๒ หลักสูตร คือ สาขาวิชา จารึกภาษาตะวันออก และสาขาวิชาจารึกภาษาไทย ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ได้มีส่วนร่วม ในการร่างหลักสูตรและผลักดันให้เปิดหลักสูตรดังกล่าว ทั้งยังได้กรุณามาช่วยสอนวิชาจารึกสุโขทัย จารึก ล้านนา วรรณกรรมล้านนา ตลอดจนวิชาพื้นฐานเกี่ยวกับอักษรและภาษาถิ่นภาคเหนือซึ่งเป็นวิชาในสาขา วิชาจารึกภาษาไทย พร้อมกับรับเป็นที่ปรึกษาและกรรมการตรวจวิทยานิพนธ์อีกด้วย การสอนการอ่านจารึกและเอกสารโบราณของท่านนั้น ใช้วิธีสอนแบบง่ายไปหายากและวิธีการ ศึกษาจารึกจากประสบการณ์ของท่านเอง ในชั่วโมงแรก ๆ ท่านจะให้นักศึกษาฝึกอ่านจารึกจากส� ำเนาที่ ชัดเจน อ่านง่าย และให้ดูค� ำอ่านจารึกหากติดขัด แล้วจึงอ่านจารึกที่ยากขึ้น พร้อมกับบันทึกรูปอักษรและ อักขรวิธีพิเศษในจารึกแต่ละหลักไว้ จากนั้นท่านก็จะอธิบายให้ความรู้และข้อสังเกตที่เกี่ยวข้องกับจารึกที่ ก� ำลังอ่านทั้งในด้านอักขรวิธีและประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับจารึกหลักอื่น ๆ รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับ โหราศาสตร์และชื่อวัน เดือน ปี แบบโบราณ และการอ่านดวงชะตาที่พบมากในจารึกล้านนา ตลอดจน

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=