สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
129 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร พระเกตุ พระเกตุ (โหร) ชื่อดาวพระเคราะห์ดวงที่ ๙ มีเลข ๙ เป็นเครื่องหมาย พระเกตุมีปรากฏอยู่ในดวงชาตาซึ่งผูกขึ้นในสมัยหลังนี้ แต่ไม่ปรากฏในจารึกทั้งภาคเหนือ และเชียงตุงสมัย พ.ศ. ๒๐๑๙ ถึง พ.ศ. ๒๓๓๙ รวมทั้งจารึกเรื่องสร้างวัดบรมนิวาส พ.ศ. ๒๓๗๗ ด้วย ในเตภูมิกถามีพระชาตาวันตรัสรู้ วันปรินิพพาน และวันธาตุนิพพาน ซึ่งมีพระเกตุอยู่ราศี พฤษภ แต่ขาดลัคนาซึ่งจ� ำเป็นจะต้องปรากฏในพระชาตาด้วย ตามพระชาตาที่พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงให้โหรค� ำนวณไว้ ทั้งพระชาตาวันตรัสรู้และวันปรินิพพาน ลัคนาอยู่ราศีพฤษภ แต่พระเกตุอยู่ราศีอื่น จึงน่าจะสันนิษฐานว่า ผู้คัดลอกเตภูมิกถาคงจะส� ำคัญผิดอ่าน ล ซึ่งแทนลัคนาเป็น พระเกตุไป เพราะสมัยโบราณ เลข ๙ ซึ่งแทนพระเกตุ มีลักษณะเหมือน ล อยู่ด้วย. นาที นาที ในเตภูมิกถาตรงกับมหานาทีที่ใช้ในโหราศาสตร์ และเป็นหน่วยเวลาเท่ากับ ๒๔ นาที ตามเวลาปัจจุบัน ในที่นี้จะใช้ค� ำ “มหานาที” แทน “นาที (โบราณ) ในเตภูมิกถา” เพื่อป้องกันความ เข้าใจสับสนระหว่างนาทีโบราณกับนาทีปัจจุบัน ทางโหราศาสตร์ วันหนึ่งแบ่งออกเป็น ๖๐ มหานาที ๑ มหานาทีจึงเท่ากับ ๒๔ นาที ปัจจุบัน เตภูมิกถาอธิบายว่า วันที่กลางวันกลางคืนเท่ากันนั้น กลางวันยาว ๑๕ มหานาที (๖ ชั่วโมง) และกลางคืน ยาว ๑๕ มหานาที (๖ ชั่วโมง) หลวงวิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร์) อธิบายไว้ในต� ำราโหราศาสตร์ เล่ม ๓ ว่า กลางวัน (กลางของวัน) ก� ำหนดแต่เวลาเที่ยงวันมาถึงเวลายํ่าคํ่า (เท่ากับครึ่งวัน) และ กลางคืน (กลางของคืน) ก� ำหนดแต่เที่ยงคืนถึงยํ่ารุ่ง (เท่ากับครึ่งคืน) ถ้านับกลางวันเต็มวันจะเป็นเวลา ๓๐ มหานาที เท่ากับ ๑๒ ชั่วโมง ในเวลาที่กลางวันยาวที่สุด กลางวันยาวถึง ๑๘ มหานาที คิดแต่เที่ยงวันถึงยํ่าคํ่า ถ้าคิดกลางวัน ทั้งวันตั้งแต่ยํ่ารุ่งถึงยํ่าคํ่า กลางวันที่ยาวที่สุดจะยาวเท่ากับ ๓๖ มหานาที หรือ ๑๔ ชั่วโมง ๒๔ นาที และกลางคืนในตอนนั้นจะสั้นลงเหลือเพียง ๑๒ มหานาที เมื่อคิดตั้งแต่เที่ยงคืนถึงยํ่ารุ่ง ถ้าคิดเต็มทั้งคืน จะเป็นเวลา ๒๔ มหานาที หรือ ๙ ชั่วโมง ๓๖ นาที. หนังสืออ้างอิง ๑. พระสุริยยาตร์และมานัตต์. โรงพิมพ์ศรีหงส์, ๒๔๗๓. ๒. วิศาลดรุณกร (อั้น สาริกบุตร์), หลวง. ต� ำราโหราศาสตร์ เล่ม ๓ ภาคที่ ๑.
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=