สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

128 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ไพร่ ไพร่ หมายถึง ประชาชนทั่วไป ซึ่งยามปรกติเป็นพลเรือน ยามสงครามเป็นทหาร ไพร่สิบคน มีหัวหน้าคนหนึ่ง เรียกว่า นายสิบ ไพร่ร้อยคนมีหัวหน้า คือ หัวปาก ล� ำดับต่อไปมีหัวพัน หัวหมื่น และ เจ้าแสน การปกครองแบบนี้ใช้อยู่ในสุโขทัย ล้านนา ไทยอาหม ฯลฯ สมัยโบราณ . ไพร่ฟ้าข้าไท จารึกหลักที่ ๑ (พ.ศ. ๑๘๓๕) หลักที่ ๓ (พ.ศ. ๑๙๐๐) และหลักที่ ๕ (พ.ศ. ๑๙๐๔) ใช้ ไพร่ฝ้า ข้าไท หมายถึง ประชาราษฎร เช่น จารึกหลักที่ ๕ ว่า “พระยาลือไทย...รู้ปราณีแก่ไพร่ฝ้าข้าไท ทั้งหลาย” กฎหมายตราสามดวงใช้ ไพร่ฟ้าข้าไท หลายแห่ง ตัวอย่างเช่น “เจ้าเมืองเอาพลไพร่ฟ้าข้าไททั้งหลายออกเลี้ยงนอกเมือง” และใช้ “อณาประชาราษฎรไพร่ฟ้า ข้าขอบขัณฑเสมา” ไพร่ คู่กับ ฟ้า แต่เดิมคงมีความหมายเท่ากับ ข้า คู่กับ ไท เพราะจารึกหลักที่ ๑ ชอบใช้วลีที่ มีความหมายอย่างเดียวกันซ้อนกัน เช่น ข้าเสิกข้าเสือ หัวพุ่งหัวรบ กฎหมายตราสามดวงกล่าวถึง “ข้าหนีเจ้า ไพร่หนีนาย” ข้า คงไม่เท่ากับ ทาส เพราะจารึกหลักที่ ๓ มีข้อความว่า “ไพร่ฝ้าข้าไทขี่เรือไปค้า ขี่ม้าไป ขาย” ถ้าปล่อยให้ทาสไปค้าขาย ก็คงจะหลบหนีกันไปหมด ต่อมาถึงสมัยอยุธยา ไพร่ของฟ้า คงจะหมายถึง คนของหลวง และ ข้าของไท หมายถึง บริวาร ของผู้เป็นนาย และท้ายที่สุด ในกฎหมายตราสามดวงได้ลดฐานะของข้าลง โดยใช้ “ถ้าไพร่ฟ้าทาษไท ใคร ๆ หนีนายหนีเจ้า” นอกจากนี้ จารึกสุโขทัยยังกล่าวรวมไพร่ฝ้าข้าไทไปกับทรัพย์ศฤงคารของบุคคล เช่น “ช้าง ขอ ลูกเมีย เยียข้าว ไพร่ฝ้าข้าไท ป่าหมากป่าพลู (ของ) พ่อเชื้อมัน” (จารึกหลักที่ ๑) และ “ช้างม้าข้าไท ทั้งหลาย” (จารึกหลักที่ ๑๐๒) ไตรภูมิกถากล่าวถึง “มีช้าง มีม้า มีข้า มีไท แกล้วหาญ มีรี้พลเพียงดัง พระอินทร์” ไท หมายถึง ผู้มีอิสระแก่ตน ดังจะเห็นได้จากจารึกหลักที่ ๑๐๖ ว่า “ข้าและเมียมัก (รัก) กันให้ขา (เขาทั้งสอง) แก่กันไปเป็นไท”.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=