สำนักงานราชบัณฑิตยสภา

127 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร เจ้าพญาเลลิไทยผู้เสวยราชสัมปัตติในเมืองศรีสัชชนาลัยแลสุกโขทัย แลเจ้าพญาลิไทยนี้ ธ เป็นหลาน เจ้าพระยารามราชผู้เป็นสุริยวงศ์ แลเจ้าพรญาเลไทยได้เสวยราชสมบัตติในเมืองสัชชนาลัยอยู่ได้ ๖ เข้า จึงได้สร้างไตรภูมิกถานี้” ถูกต้องกว่า กล่าวคือ พระยาลิไทยเป็นลูกพระยาเลอไทย และพระเจ้าลิไทย เป็นหลานพระยารามราช (พ่อขุนรามค� ำแหง) โดยถือแบบไทยใหญ่ว่ารูปสระอีแทนเสียงสระหน้าทั้งหมด คือ อี เอ หรือ แอ ได้ เช่น เขียน ปีน อาจหมายความว่า ปีน เป็น หรือ แป้น ก็ได้ ลิไทยจึงพออนุโลมว่า ตรงกับเลไทยได้ ส่วนเลลิไทย เดิมน่าจะเขียน เลิไทย ออกเสียงว่าเลอไทย (เทียบกับค� ำ เลิก) แต่ผู้อ่าน ยุคหลังเปลี่ยนอักขรวิธีไปแล้ว จึงอ่านไม่ออก เลยเข้าใจว่าจะต้องออกเสียงเหมือนมี ล สองตัว คือ เลลิ เหมือนอักขรวิธีล้านนาและอีสานซึ่งเขียน จูอง อ่านเป็น จูงจ่อง ได้ เมื่อตกลงว่า พระยาลิไทยนิพนธ์ไตรภูมิกถาเมื่อเสวยราชย์ในศรีสัชชนาลัย (ยังไม่ได้ครอง อาณาจักรสุโขทัย) ได้ ๖ เข้าแล้ว ก็อาจค� ำนวณได้จากจารึกหลักที่ ๕ ว่าพระองค์เสวยราชย์ได้ ๒๒ เข้าลุ พ.ศ. ๑๙๐๔ (ถ้านับแบบลังกาคือแบบปีย่าง จะเป็น พ.ศ. ๑๙๐๕) ปีนิพนธ์ไตรภูมิกถาเสวยราชย์ ได้ ๖ เข้าจะตรงกับ พ.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๖ = พ.ศ. ๑๘๘๘ ส่วนปีนิพนธ์คือศักราช ๒๓ ปีระกานั้นยังไม่มี ผู้ใดทราบว่าเป็นศักราชอะไร แต่ พ.ศ. ๑๘๘๘ ตรงกับปีระกายันกันอยู่ วันนิพนธ์ (๑) ในบานแพนก มีข้อความว่า วันนิพนธ์ วันพฤหัสบดี เพ็งเดือนสี่ (๒) ในอวสานพจน์ว่า วันนิพนธ์ วันพฤหัสบดี เพ็งเดือนสิบ (๓) ต่อจาก ข้อ (๒) มีข้อความว่า “มฤคเศียรนักษัตร” เมื่อเป็นวันเพ็ญควรจะตรงกับเดือน อ้าย การคัดตัวเลขอาจผิดพลาดได้ง่าย จึงน่าเชื่อถือว่าวันนิพนธ์ควรจะเป็นเดือนอ้าย วันเพ็ญ ตรงกับวันพฤหัสบดี เมื่อสอบกับวันในสัปดาห์แล้ว วันเพ็ญเดือนอ้าย พ.ศ. ๑๘๘๘ ตรงกับวันพฤหัสบดี แต่วันเพ็ญ เดือนสี่หรือเดือนสิบไม่ตรงกับวันพฤหัสบดี จึงช่วยยืนยันว่า วันนิพนธ์ไตรภูมิกถา ตรงกับวันพฤหัสบดี วันเพ็ญ เดือนอ้าย ปีระกา พ.ศ. ๑๘๘๘ หากจะให้สันนิษฐานว่า การคัดลอกเดือนอาจจะผิดพลาดมาอย่างใด ก็อาจสันนิษฐานว่าเดิม เขียนเดือนอ้ายเป็นตัวเลขคือเดือน ๑ แล้วมีจุดเปื้อนมาต่อท้ายท� ำให้อ่านเป็นเดือน ๑๐ แล้วเขียนเป็น ตัวหนังสือเวลาคัดหรืออ่านได้ยินเป็นเดือนสี่ไปอีกต่อหนึ่ง.

RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=