สำนักงานราชบัณฑิตยสภา
126 อนุสรณ์ในการพระราชทานเพลิงศพ ศาสตราจารย์ ดร.ประเสริฐ ณ นคร ในไตรภูมิกถามีแห่งเดียวที่ใช้ พระ หลวง ขุน หมื่น จึงน่าจะเป็นข้อความที่ผู้คัดลอกชั้นหลัง ได้เติมเข้าไป เพื่อให้คนสมัยของตนเข้าใจเรื่องได้ดียิ่งขึ้น เช่นเดียวกับที่ไตรภูมิกถาฉบับอยุธยาใช้ค� ำ เคียดฟุน ซึ่งแปลว่า โกรธเป็นฟืนเป็นไฟ (เชียงใหม่ยังใช้ เคียด แต่ออกเสียงเป็น เกี้ยด แปลว่า โกรธ อยู่) แต่ฉบับธนบุรีและฉบับรัตนโกสินทร์แก้เป็น เดือดฟุ้ง เพื่อให้คนสมัยนั้นเข้าใจความหมายได้. หนังสืออ้างอิง ๑. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับปลีก – ข้อมูลประวัติศาสตร์ในรอบศตวรรษ (พ.ศ. ๒๕๒๐- ๒๕๓๐) ของสมาคมประวัติศาสตร์. ๒. พระไอยการต� ำแหน่งนาพลเรือน – กฎหมายตราสามดวง กรมศิลปากรจัดพิมพ์เผยแพร่. ๓. มังรายศาสตร์. พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงโหตรกิตยานุพัทธ์ (อาสา โหตระกิตย์) พ.ศ. ๒๕๑๔. ผู้นิพนธ์และวันนิพนธ์ไตรภูมิกถา ผู้นิพนธ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๗ ข้าพเจ้าได้เขียนบทความเรื่องประวัติศาสตร์สุโขทัย และได้แสดงให้เห็นว่า พระเจ้าลิไทยนิพนธ์ไตรภูมิกถาเมื่อ พ.ศ. ๑๘๘๘ แต่มาจนถึงบัดนี้ก็ยังมีผู้อ้างพระนิพนธ์ของสมเด็จฯ กรมพระยาด� ำรงราชานุภาพว่า ปีนิพนธ์ศักราช ๒๓ ปีระกาไม่ทราบว่าปีใด กรณีคล้ายคลึงกันใน พ.ศ. ๒๔๘๗ ข้าพเจ้าได้แสดงให้เห็นว่า โคลงนิราศหริภญชัยแต่งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๐ ศรีทิพเป็นผู้หญิง มิใช่ผู้แต่ง แต่จนบัดนี้คนจ� ำนวนมากก็ยังอ้างว่า นายศรีทิพ เป็นผู้แต่งนิราศเรื่องนี้ขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๑๘๐ ต่อมา นายไมเคิล วิกเกอรี เขียนบทความคัดค้านว่า ผู้นิพนธ์ไตรภูมิกถาน่าจะเป็นพระยา ไสยลิไทย พระราชนัดดาของพระเจ้าลิไทยมากกว่า โดยอ้างความในอวสานพจน์ว่า “พระยาลิทัยผู้เป็น หลานปู่พระยาเลลิทัย ผู้เสวยราชย์ในเมืองศรีสัชนาลัยแลสุกโขทัย ผู้เป็นหลานแก่พระรามราช” ผู้นิพนธ์ จึงเป็นหลานของพระเจ้าลิไทยผู้เป็นหลานพ่อขุนรามค� ำแหงมหาราชอีกต่อหนึ่ง ม.จ.จันทร์จิรายุ รัชนี ทรงรับความเห็นนี้และทรงต� ำหนิว่าข้าพเจ้าปิดบังความจริง กล่าวถึงแต่บานแพนก ไม่กล่าวถึงอวสานพจน์ ไว้ด้วย ข้าพเจ้าเห็นว่าข้อความในบานแพนกและอวสานพจน์เป็นข้อความเดียวกัน แต่คัดลอกหลาย ครั้งจนคลาดเคลื่อนกลายเป็นคนละเรื่องไป และเห็นว่าข้อความตอนต้นผู้คัดยังมีสมาธิไม่เมื่อยล้าจึงน่า เชื่อกว่าข้อความตอนอวสาน ซึ่งผู้คัดเบื่อหน่ายมากแล้ว ฉะนั้นจึงถือว่า “เจ้าพญาเลไทยผู้เป็นลูกแห่ง
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy NTk0NjM=